โรงแรมครองสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวต่อ
ชุดใหม่ขอชน อบจ.ตามภาษีห้อง
กลุ่มผู้ประกอบการโรงแรมยังครองอำนาจบริหารสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวภูเก็ตต่ออีก
หลังขับเคี่ยวกับกลุ่มเอเย่นทัวร์
จนที่ประชุมหนแรกต้องล่ม
ด้วยปัญหาสมาชิกบางคนขาดสมาชิกภาพเพราะไม่จ่ายค่าบำรุง
งานแรกของนายกฯ
คนใหม่ประกาศชน อบจ. ติดตามผลการเก็บภาษีห้องพักโรงแรม
ส่วนนายกฯ เก่าฝากก่อนอำลา
ให้สานโครงการ
ส่งเสริมการขายและการตลาดอย่างต่อเนื่อง
การประชุมใหญ่สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต
ที่ห้องจามจุรี
โรงแรมภูเก็ตเมอร์ลิน
เมื่อคืนวันที่ 8 สิงหาคม 2543
เพื่อเลือกตั้งกรรมการบริหารสมาคมชุดใหม่แทนชุดเก่าที่มี
นายปมุข อัจฉริยฉาย
เป็นนายกสมาคม ซึ่งได้หมดวาระลง
ผลปรากฏว่าหลังจากสมาชิกได้เลือกกรรมการทั้ง
11 คน และกรรมการ
ใด้ลงมติให้นายสมบัติ อดิเศรษฐ์
เป็นนายกสมาคม บริหารปี 2543-2545 ต่อจาก นายปมุข อัจฉริยฉาย
ที่ได้หมดวาระลง
นายสมบัติ
ได้กล่าวถึงนโยบายของคณะกรรมการบริหารชุดใหม่ว่า
จะเน้นให้สมาชิกให้ความสำคัญกับสมาคมฯ
มากขึ้น
พร้อมกับจะสนับสนุนกิจการของสมาชิกทุกประเภท
อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและศิลปวัฒนธรรมของภูเก็ต
วางนโยบาย
การตลาดเพื่อรักษาอัตราการเข้ามาของนักท่องเที่ยว
พัฒนาระบบการท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต
ให้เป็นนานาชาติ
ประสานงานกับภาครัฐเพื่อผลักดันการพัฒนาสาธารณูปโภค
เพื่อนักท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต
และดำเนินการต่างๆ
ให้เป็นไปตามธรรมนูญของสมาคมฯ
แต่งานเร่งด่วนที่จะต้องทำเป็นอันดับแรก
คือ
การติดตามความคืบหน้าเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีห้องพัก
หรือค่าธรรมเนียมการเข้าพักโรงแรมของนักท่องเที่ยว
ซึ่งก็ต้องปรึกษารายละเอียดกับอดีตนายกฯ
ก่อน
เพราะเรื่องนี้ถือเป็นเรื่องใหญ่ที่สมาชิกมีส่วนได้ส่วนเสีย
รวมถึงจะต้องมีการติดตามด้วยว่าค่าธรรมเนียม
ที่จัดเก็บไปนั้นคนภูเก็ตจะได้ประโยชน์อย่างไรบ้าง
ทางด้านการสานต่องานของคณะกรรมการชุดเก่านั้น
นายสมบัติ กล่าวว่า
หากโครงการใดที่ดีอยู่แล้วก็
ต่องมีการดำเนินการสานต่ออย่างแน่นอน
แต่ส่วนที่ต้องมีการปรับปรุงก็จะดำเนินการ
เช่นกัน ซึ่งก็ต่องขอศึกษา
รายละเอียดอีกครั้ง
ภายหลังได้แต่งตั้งคณะกรรมการฝ่ายต่างๆ
มารับผิดชอบเรียบร้อยแล้ว
ก็คงจะทราบผลภายในกลางเดือนนี้
ส่วนนายปมุข อัจฉริยะฉาย
อดีตนายกสมาคมฯ ได้กล่าวว่า
เรื่องใดก็ตามถ้าเห็นว่าถูกต้องและเป็นแนว
ทางที่ดีก็ให้คณะกรรมการชุดใหม่สานต่อด้วย
โดยเฉพาะเรื่องการจัดโครงการส่งเสริมการขายและการตลาด
ซึ่งควรจะต้องมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
และรวมไปถึงเรื่องธรรมนูญของสมาคม
ซึ่งอยากให้ทางกรรมการใด้ให้ความสำคัญมิฉะนั้นแล้วการดำเนินงานของสมาคมอาจจะเกิดการผิดพลาด
จะอย่างไรก็ตาม
การประชุมใหญ่เพื่อเลือกตั้งกรรมการสมาคมฯ
ครั้งนี้เป็นการประชุมครั้งที่ 2 หลังจาก
ที่ต้องเลื่อนการเลือกตั้งดังกล่าว
ซึ่งจัดขึ้นที่โรงแรมเพิร์ล
ภูเก็ต เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม
ที่ผ่านมา เนื่องจาก
สมาชิกในที่ประชุมมีการอภิปรายโต้เถียงอย่างดุเดือด
โดยเฉพาะประเด็นคุณสมบัติไม่ครบถ้วนเพราะ
ไม่ชำระเงินบำรุงประจำปีเพียง 600
บาท
สำหรับสมาชิกสามัญและวิสามัญ 200 บาท
จนไม่สามารถสรุปได้ว่าจะให้สมาชิกสามัญและวิสามัญบางส่วนที่ไม่ได้ชำระค่าบำรุงประจำปี
ในวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2543
เป็นวันสุดท้ายลงสมัครเป็นกรรมการบริหารหรือใช้สิทธิ์เลือกตั้งได้หรือไม่
การเลือกตั้งครั้งล่าสุดนี้
นายสุรพล สุวรรณกูล พาณิชย์ จ.ภูเก็ต นายอานุภาพ ธีรรัฐ
ผู้อำนวยการการ
ท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
สำนักงานภาคใต้เขต 4 และนายปรีชา
นะวงศ์ ผู้จัดการภาคใต้ตอนบน
บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)
เป็นกรรมการจัดการเลือกตั้ง
ต้องพยายามควบคุมให้เป็นไปด้วย
ความเรียบร้อย
เพราะยังคงมีสมาชิกบางส่วนออกมาเสนอความคิดเห็นต่างๆ
อย่างกว้างขวาง เช่น
มีการปล่อยข่าวว่ามีการแย่งเก้าอี้
มีความพยายามจะเสนอข้อแก้ไขข้อบังคับสมาคมในหมวดที่
5
ค่าบำรุงประจำปีในระหว่างการประชุมครั้งนี้
แต่มีผู้แย้งว่ากระทำไม่ได้
ส่วนสมาชิกบางรายกลับเสนอ
ว่าขอให้สมาชิกที่มาร่วมประชุมมีสิทธิ์ลงคะแนนได้เป็นกรณีพิเศษ
(Compliment) หรือยกผลประโยชน์ให้จำเลย
ทั้งนี้ปรากฏว่าสมาชิกทั้งหมด 177
รายมาชำระค่าบำรุงประจำปีจากเดิม
76 ราย เพิ่มขึ้นเป็น 97 ราย
นอกจากนี้มีสมาชิกสมาคมแบ่งกลุ่มกันเสนอชื่อผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นกรรมการ
จำนวน 2 กลุ่ม คือ
กลุ่มโรงแรมและกลุ่มเอเย่นต์ทัวร์
ส่วนผลการเลือกตั้งปรากฏว่ากลุ่มของนายสมบัติ
อติเศรษฐ์
จากโรงแรมกะตะธานีบีช รีสอร์ท
รวม 11 คน
ได้รับเลือกตั้งทั้งหมด
โดยสมาชิกใช้สิทธิ์ลงคะแนนเลือก
ให้เป็นกรรมการอย่างเป็นเอกฉันท์
ในขณะเดียวกันผู้ได้รับเลือกตั้งในกลุ่มได้พิจารณาเสนอให้
นายสมบัติ อติเศรษฐ์
เป็นนายกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยว
จ.ภูเก็ต
คนใหม่แทนนายปมุข อัจฉริยะฉาย
ที่ดำรงตำแหน่งต่อเนื่องมาแล้ว2 สมัย
และจะมีการส่งมอบหน้าที่ความรับผิดชอบเร็วๆ
นี้
สำหรับสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยว
จ.ภูเก็ต
ก่อตั้งมานานประมาณ 20
กว่าปีแล้ว
โดยนายกสมาคมที่ดำรงตำแหน่ง
นานที่สุดคือ นายวิจิตร ณ ระนอง
ส่วนนายกสมาคมคนต่อมา คือ
นายชาญชัย วงศ์สัตยนนท์ นายปมุข
อัจฉริยะฉาย
และล่าสุด นายสมบัติ อติเศรษฐ์
ที่ต้องบริหารงานชมรมต่อเนื่องจากปี
2543-2545 ปรากฏว่านายกสมาคมตั้งแต่คนแรก
จนถึงคนปัจจุบันล้วนประกอบธุรกิจโรงแรมทั้งหมด
ปัจจุบันมีสถานะทางการเงินสูงถึงประมาณ
10 ล้านบาทเศษ
นอกจากมีรายได้มาจากค่าสมาชิกสามัญและวิสามัญแล้ว
ยังได้รับส่วนแบ่งร้อยละ 20 จากค่าห้องพักโรงแรมที่พักที่นักท่องเที่ยว
ติดต่อสำรองที่เคาน์เตอร์
สมาคมที่ทาอากาศยานนานาชาติภูเก็ต
รวมทั้งรายได้ส่วนหนึ่ง
จากการจัดการแข่งขันกีฬาตกปลา
นานาชาติประจำปีในเดือนพฤศจิกายน
|