|
|
|
รื้อแผนเจาะอุโมงค์เข้าป่าตอง
หนีปัญหาอุบัติเหตุปีละ 3,000 คดี
สามหน่วยงานในท้องถิ่นเมืองไข่มุกอันดามัน
ร่วมผนึกกำลัง
ช่วยกันปัดฝุ่นโครงการขุดเจาะอุโมงค์ทะลุภูเขาไปป่าตองลดปัญหาอุบัติเหตุที่ทวีความรุนแรงขึ้นทุกวัน
เฉลี่ยปีละ 3,000 คดี
และเป็นการรองรับการขยายตัวของการท่อง
เที่ยวในอนาคต
ทั้งยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้อีก
มหาศาล
ผู้ว่าฯขานรับสนับสนุนเต็มที่
แต่ก็เตือน ต้องศึกษาให้ดี
ส่วนอบจ.พร้อมหาเงินให้ทำการสำรวจ
ด้านการลงทุนก็ต้องให้เอกชนอีกตามเคย
แล้วภาครัฐ คอยควบคุมดูแล
นายเปี่ยน กี่สิ้น นายกเทศมนตรี
เทศบาลตำบลป่าตอง อ.กะทู้
จ.ภูเก็ต กล่าวว่าการ
สัญจรไปมาระหว่างป่าตองกับตัวเมือง
ปัจจุบันใช้ทาง หลวงหมายเลข 4029
โดยเฉพาะตรงบริเวณรอยต่อ
ของตำบลป่าตองกับอำเภอกะทู้
เป็นทางลาดชัน คด
เคี้ยวไปตามไหล่เขา
ขึ้นไปถึงส่วนที่สูงที่สุดประมาณ
130 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล
โดยมีความยาวประ มาณ 2 กิโลเมตร
ลักษณะของผิวจราจรเป็นถนน
แอสพัลต์ผิวจราจร 3 เลน ทางขาขึ้น 2
เลน และขาลง 1 เลน
มีปริมาณจราจรเฉลี่ยประมาณ 20,000
คัน ต่อวัน
ซึ่งลักษณะของทางหลวงสายนี้มีสภาพเป็น
เหมือนคอขวด
พบว่ามีสถิติอุบัติเหตุสูงสุดเฉลี่ย
3,000 คดีต่อปี
"จึงได้มีแนวคิดรื้อฟื้นโครงการเจาะ
อุโมงค์ ทะลุภูเขาเข้าป่าตอง
ซึ่งเคยมีการว่าจ้างให้บริษัท
SKANSKA จากประเทศสวีเดน
ได้ทำการศึกษาข้อมูล
ในเบื้องต้นไปแล้ว
ถ้าหากโครงการนี้ประสบผลสำเร็จ
ประชาชนในเขตป่าตองและใกล้เคียง
รวมไปถึงนักท่อง
เที่ยวจะได้รับความสะดวกสะบายในการสัญจรไปมา
ระหว่างตัวเมืองภูเก็ตกับป่าตอง
เมื่อได้หารือไปยังเทศ
บาลตำบลกะทู้
และองค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.)
ภูเก็ต ผลปรากฏว่า
ทุกฝ่ายต่างเห็นด้วย
จึงนำเรื่องนี้
เสนอขอความเห็นชอบไปยังผู้ว่าราชการจังหวัด"
นายเปี่ยน กล่าว
จะอย่างไรก็ตามป่าตองนั้นเป็นเมือง
ท่องเที่ยว
ที่มีชื่อเสียงรู้จักกันทั่วโลก
และจะต้องเติบโต ต่อไปอีก
ปัจจุบันนี้จึงได้เตรียมพร้อมในเรื่องของสา
ธารณูปโภคต่างๆ
ไว้ในรูปของผังเมืองอย่างสมบูรณ์
แล้ว
โดยมีโครงการสร้างเส้นทางสัญจรหลายโครงการ
ได้เตรียมการไว้สำหรับอนาคต
แต่ตราบใดที่คอขวด
บริเวณดังกล่างข้างต้นยังไม่ได้รับการแก้ไขก็จะส่งผล
ให้เกิดปัญหานานาปะการตามมา
รวมถึงในส่วนของ
สาธารณูปโภคต่างๆ
ที่เตรียมการไว้ด้วย
ซึ่งหากอุโมงค์
สามารถสร้างได้ก็จะก่อให้เกิดประโยชน์มากมาย
ทั้ง ทางตรงและทางอ้อม เช่น
ลดอุบัติเหตุ สาธารณูปโภค
ได้รับการปรับปรุงเพื่อรองรับการขยายตัวของการ
ท่องเที่ยว
เอื้อประโยชน์กับโครงการที่เกี่ยวข้องอื่นๆ
ด้วย ทางด้านนายชาญชัย
สุนทรมัฏฐ์ ผู้ว่าราชการจังหวัด
ภูเก็ต กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า
เห็นด้วยกับแนวคิดดังกล่าว
เพราะหากสามารถทำได้
ซึ่งไม่เฉพาะประโยชน์ที่จะ
เกิดกับการท่องเที่ยวเท่านั้น
แต่ยังเพิ่มความสะดวกใน
การติดต่อสัญจรไปมาของคนในพื้นที่เองด้วย
รวมทั้งยัง
จะลดการใช้พลังงานได้เป็นจำนวนมหาศาล
เพราะเส้น
ทางเดิมนั้นมีความคดเคี้ยวลาดชัน
และเมื่อฝนตก
เกิดอุบัติเหตุบ่อย
ซึ่งหากสร้างอุโมงค์ขึ้น
ก็จะช่วยลด ปัญหาดังกล่าวได้
ในเรื่องของผลตอบแทนที่จะได้รับนั้น
น่าจะมหาศาล
และยังเอื้ออำนวยต่อการทำงานของ
หน่วยงานอื่นๆ เช่น ไฟฟ้า ประปา
เป็นต้น "แต่แม้
จะเป็นแนวคิดที่ดี
และเป็นความต้องการของท้องถิ่น
ก็ใช่ว่าจะลงมือได้ทันทียังต้องมีการศึกษาถึงรายละ
เอียดต่างๆ ให้ชัดเจน
โดยเฉพาะด้านเทคนิค เรื่องของ
ชั้นดินซึ่งมีความสำคัญมาก
เฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของงบ
ประมาณ
โดยในส่วนของจังหวัดที่จะช่วยเหลือได้
ก็เป็นเรื่องของการประสานงานให้เป็นไปตามระเบียบ
ขั้นตอนของกฎหมายที่กำหนดไว้
แต่ขอชื่นชมว่า
เรื่องนี้เป็นแนวคิดที่ดี
เพราะเป็นความร่วมมือที่เกิดขึ้น
ของท้องถิ่นอย่างแท้จริง"
ผู้ว่าราชการจังหวัดกล่าว
ทางด้าน นพ.ประสิทธิ์ โกยศิริพงษ์
นายกองค์การ
บริหารส่วนจังหวัด(อบจ)ภูเก็ตเปิดเผยว่า
เรื่องนี้ เคยคิดกันมานานแล้ว
เมื่อทางนายกเทศมนตรีตำบล
ป่าตองและนายกเทศมนตรีตำบลกะทู้ได้มาหารือ
พร้อมกับให้ช่วยสนับสนุนในด้านงบประมาณที่ใช้ใน
การสำรวจว่าสมควรที่จะสร้างตรงจุดไหนจึงจะเกิด
ปัญหาน้อยที่สุด
ก่อสร้างได้ง่าย
และปลอดภัยในระยะ ยาว
แม้กระทั่งปัญหาการเวณคืนที่ดินต้องทำให้เกิด
น้อยที่สุด
และต้องศึกษาถึงโครงสร้างของชั้นดินด้วย
ทางอบจ.ก็เห็นด้วยพร้อมจะให้การสนับสนุน
โดยจะ จัดสรรงบประมาณสมทบ 3
ล้านบาท ใช้ในการดำเนิน
การดังกล่าว
สำหรับเหตุผลที่ทุกฝ่ายต่างเห็นพ้องต้อง
กัน
และเร่งผลักดันให้มีการขุดเจาะอุโมงค์ลอดภูเขาไป
ป่าตองโดยเร็วนั้น ก็ด้วยเหตุผล 5
ประการคือ ตาม
เส้นทางไปป่าตองมีอุบัติเหตุเกิดเพิ่มขึ้นทุกวัน
แต่ละ ครั้งล้วนรุนแรง
เพราะเส้นทางคดเคี้ยว ลาดชัน
ฝนตก ถนนลื่น เป็นประการแรก
ประการที่ 2 เส้นทางดังกล่าว
เป็นไหล่เขา
รถจะขึ้นไปได้ก็ต้องใช้เกียร์ต่ำ
ล้อบดหมุน
ฟรีทำให้ยางและถนนสึกกร่อนเร็วขึ้นกว่าปกติ
ประการ ที่ 3
การนำรถขึ้นตามไหล่เขาหรือตามที่ลาดชันนั้น
ทำให้สิ้นเปลืองพลังงาน
ถ้าหากรถวิ่งในพื้นผิวจราจร
ปกติในระยะ
ทางเท่ากันจะประหยัดพลังงานได้ถึง
2 ลิตร
ยังไม่รวมถึงค่าสึกหรอที่รถแต่ละคันต้องประสบ
ประการที่ 4
การทำงานของหน่วยงานต่างๆ
ตอนนี้
ถ้าจะนำไฟฟ้าหรือประปาเข้าไปยังตำบลป่าตอง
ก็
จำเป็นที่จะต้องผ่านไหล่เขาดังกล่าวทำให้ต้นทุนเพิ่ม
ขึ้น ประการที่ 5
ถ้ามีอุบัติเหตุเกิดขึ้นในตำบลป่าตอง
การที่จะนำผู้ป่วยเข้ามาทำการรักษาในตัวเมืองต้องใช้เวลา
มากกว่าจะถึงโรงพยาบาลผู้ป่วยก็อาการหนักยากที่จะ
ให้การช่วยเหลือ
ปัญหาเรึ่องงบประมาณการลงทุนนั้น
นพ.ประสิทธิ์ กล่าวว่า
ยังไม่ได้พูดคุยกันเป็นเรื่องเป็นราว
ก็ต้องนับ พันล้านบาทขึ้นไป
เงินจำนวนมหาศาลอย่างนี้
คิดว่าน่า จะต้องให้เอกชนลงทุน
แล้วภาครัฐ หรือหน่วยงานใด
หน่วยงานหนึ่งในท้องถิ่นที่มีหน้าที่รับผิดชอบคอย
ควบคุมดูแล
การลงทุนในลักษณะนี้ก็เกิดมาแล้วหลาย
โครงการ
"แต่ก่อนที่โครงการสร้างอุโมงค์จะเกิดขึ้นได้
นั้น ต้องมีการทำประชาพิจารณ์
เพื่อสอบถามความ
ต้องการของประชาชนในจังหวัดภูเก็ตก่อนว่า
ต้องการ
ที่จะให้มีการสร้างอุโมงค์หรือไม่
ถ้าประชาชนและ
สื่อมวลชนลงความเห็นว่า
สมควรให้มีโครงการนี้ ทางอบจ.
จึงจะได้ดำเนินการต่อไป" นายก
อบจ. ภูเก็ต กล่าวในที่สุด.
|