|
|
|
ท่าเรืออ่าวฉลองเสร็จแน่
ใครจะคว้าชิ้นปลามัน
ท่าเทียบเรือท่องเที่ยวฝั่งทะเลอันดามัน
อ่าวฉลอง มูลค่ากว่า 147
ล้านบาทจากเงินกู้ โออีซีเอฟ.
เสร็จทันตามกำหนดปลายปีแน่
ขณะนี้
รับมอบงานไปแล้วเป็นบางส่วน
ถ้าเสร็จสมบูรณ์จะเป็นท่าเรือท่องเที่ยว
ชายฝั่งระดับมาตรฐาน
ส่วนการบริหารจัดการ
ต่างจ้องตะครุบชิ้นปลามัน อบต.ฉลอง
เจ้าของพื้นที่คงไม่ยอมปล่อยให้หลุดมือแน่
ส่วนอบจ.ภูเก็ตบอก
จะให้ใครบริหารต้องผ่านคณะกรรมการจัดหาผลประโยชน์ก่อน
แนวโน้มจะ ให้เอกชนเข้าไปบริหาร
เกี่ยวกับความคืบหน้าของการก่อสร้างสะพาน
ท่าเที่ยบเรือท่องเที่ยวชายฝั่งทะเลอันดามัน
อ่าวฉลอง
ซึ่งสร้างขึ้นทดแทนท่าเรือเก่าที่ชำรุด
ขาดสิ่งอำนวย ความสะดวกนั้น
นายอำนวย สงวนนาม รองผู้ว่า
ราชการจังหวัดภูเก็ต
ที่ได้รับมอบหมายให้ติดตามดูแล
ควบคุมการก่อสร้าง เปิดเผยว่า
ด้านงานก่อสร้างคืบ หน้าไปกว่า 60%
แล้ว
ในความคืบหน้าดังกล่าวยังมี
ความคืบหน้าแฝงในส่วนของการเตรียมอุปกรณ์ต่างๆ
รวมอยู่ด้วย
ถึงอย่างไรก็ต้องบีบให้เสร็จทันตามกำหนด
หรือไม่ก็ต้องให้แล้วเสร็จก่อนกำหนดยิ่งดี
เพราะจะ
เป็นประโยชน์ต่อการใช้สอยของประชาชนและนักท่อง
เที่ยว
โดยเฉพาะในช่วงเดือนพฤศจิกายนนั้น
เป็นช่วง
ของฤดูกาลท่องเที่ยวหรือไฮซีซั่น
หากสะพานแล้วเสร็จ
ก็จะเป็นประโยชน์
ต่อการท่องเที่ยวอย่างมาก
สิ่งที่ยังน่าเป็นห่วงและเป็นปัญหาที่จะต้องมี
การพิจารณา คือ
ในส่วนของถนนทางเข้าสู่ท่าเทียบเรือ
ซึ่งมีความยาวประมาณ 500 เมตร
ที่อาจจะส่งผล
กระทบกับผู้ที่สัญจรไปมาบ้างเล็กน้อย
รวมถึงในส่วน
ของชาวบ้านที่อาศัยอยู่บริเวณริมถนนดังกล่าว
อาจจะ ได้ความเดือดร้อนบ้าง
จากการขยายถนนและสร้าง
ท่อระบานน้ำ
ทั้งพื้นที่บางส่วนก็เป็นของชาวบ้าน
รวมถึงข้อจำกัดอื่นๆ
แต่คิดว่าหากทุกฝ่ายเล็งเห็นประ
โยชน์ร่วมกัน
ก็น่าจะมีการดำเนินการจัดการได้
ในส่วน
ของบริษัทที่รับผิดชอบในการดำเนินการ
ก็ควรที่จะ มีแผนงานในการรองรับ
และแก้ปัญหาที่จะเกิดขึ้น
ซึ่งก็ยังเชื่อมั่นว่า
หากทุกฝ่ายร่วมมือกันอย่างจริงจัง
ในการแก้ปัญหา
การดำเนินการทุกอย่างก็จะดำเนิน
ไปด้วยดี
อย่างไรก็ตาม นายอำนวย
ยังกล่าวอีกว่า สำหรับ
การดำเนินการบริหารจัดการภายหลังจากท่าเทียบเรือ
สร้างแล้วเสร็จ
ก็คงเป็นเรื่องของหน่วยงานที่รับผิดชอบ
ซึ่งเป็นผู้ของบประมาณมาดำเนินการ
ในที่นี้คือองค์
การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต
แต่ในแนวคิดของตนนั้น
คิดว่าน่าจะมอบให้เอกชนเป็นผู้ดำเนินการมากกว่าใน
ส่วนของภาครัฐ
เพราะจะได้รูปแบบของการดำเนิน
การที่ทันสมัยกว่า
แต่ก็ต้องคำนึงถึงประโยชน์ของ
ประชาชนผู้ใช้บริการเป็นหลักด้วยแต่จากการเปิดเผย
ของแหล่งข่าวทางฝ่ายบริหาร อบต.ฉลอง
เจ้าของ ท้องที่ กล่าวว่า
ในด้านการจัดการบริหาร
และจัดเก็บ
ผลประโยชน์จากท่าเรืออ่าวฉลองในขณะนี้
ทาง อบต.
ฉลองเป็นผู้ดำเนินการควบคุมดูแล
โดยมีเจ้าหน้าที่ ตม.
เจ้าหน้าที่ศุลกากร และตำรวจน้ำ
มาร่วมด้วย
ท่าเรือใหม่เมลืองสร้างเสร็จ
ผู้ดำเนินการอยู่ก่อนก็น่า
จะเป็นผู้รับช่วงบริหารต่อเนื่องได้เลย
แต่เรื่องนี้ก็ทราบ มาว่าทางอบจ.ภูเก็ต
ซึ่งเป็นผู้ดึงงบประมาณเข้ามา
จะไม่ยินยอม
ก็ต้องหาข้อตกลงกันใหม่
ทางด้านนพ.ประสิทธิ์
โกยศิริพงศ์ นายก อบจ.ภูเก็ตก
ล่าวว่า
เรื่องการบริหารจัดการท่าเรือ
อ่าวฉลองนั้น
ยังไม่ได้ตกลงกันว่าจะให้ใครเป็นผู้ดูแล
การก่อสร้างก็ยังไม่เสร็จสมบูรณ์
ทั้งหมดต้องผ่าน
คณะกรรมการจัดหาผลประโยชน์ขององค์การบริหาร
ส่วนจังหวัด(อบจ.)
ซึ่งปรกอบด้วยหัวหน้าส่วนราชการ
ต่างๆ "ด้านแนวคิดที่จะให้เอกชนเข้ามาบริหารนั้น
เป็นแนวคิดของเราอยู่แล้ว
แต่ก็ต้องดูที่ผลประโยชน์
และรายละเอียดต่างๆ ก่อน
แม้กระทั่งท่าเรือรัษฎา ของอบจ.เองก็กำลังจะให้เอกชนรับไปดำเนินการอยู่
เหมือนกัน" นพ.ประสิทธ์กล่าว
สำหรับโครงการก่อสร้างสะพานท่าเทียบเรือ
ท่องเที่ยวชายฝั่งทะเลอันดามัน
อ่าวฉลอง แห่งนี้
เป็นการจัดสร้างขึ้นเพื่อทดแทนท่าเทียบเรือเก่าที่ชำรุด
ขาดสิ่งอำนวยความสะดวก
และเพื่อสนับสนุนกิจ
กรรมการท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต
กับเพื่อประโยชน์
ของประชาชนในท้องถิ่น
โดยได้รับการสนับสนุน
งบประมาณจากกองทุนเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐ
กิจโพ้นทะเล หรือ โออีซีเอฟ จำนวน
147,227,681.10 บาท
และได้ดำเนินการก่อสร้างเมื่อวันที่
14 กรกฎาคม 2542
กำหนดจะแล้วเสร็จในวันที่ 15
ธันวาคม 2543
ซึ่งขณะนี้ได้มีการส่งมอบงานไปแล้ว
4 งวด จากจำนวน 7 งวด
โดยลักษณะของงานเป็นสะพานท่าเทียบ
เรือท่องเที่ยว
โครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก
ถนน สะพานกว้าง 7 เมตร ยาวจากฝั่ง 720
เมตร มีท่าเรือส่งน้ำมัน
พร้อมทุ่นเทียบเรือท่องเที่ยวอีก
2 ทุ่น แบ่งงานออกเป็น 2 งานหลัก
ประกอบด้วยงานก่อสร้าง ในทะเล
เช่น
งานก่อสร้างสะพานท่าเทียบเรือ
และลาน ที่พักผู้โดยสาร
งานก่อสร้างทุ่นเทียบเรือ
และสะพาน ทางเชื่อม
บันไดขึ้นลงเรือขนาดเล็ก
สถานีบริการน้ำมัน เป็นต้น
และงานก่อสร้างบนบก เช่น
อาคารที่พักผู้โดย สาร
อาคารสำนักงาน/ความปลอดภัย
กำแพงป้องกัน ตลิ่ง
ระบบบำบัดน้ำเสีย
ระบบส่งจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง
ระบบประปา
รถพ่วงรับส่งผู้โดยสาร เป็นต้น
หากเสร็จ
สมบูรณ์แล้วจะเป็นท่าเทียบเรือท่องเที่ยวชายฝั่งทะเล
ที่มาตรฐาน และครบวงจรทุกอย่าง.
|