|
|
|
ภูเก็ตสร้างขยะวันละ
250 ตัน ใช้งบกำจัดปีละ 100 ล้านบาท
อภิปราย "รวมพลัง
มือขยันสร้างสรรค์เมือง
ภูเก็ต" ระบุชัดถ้อย ชัดคำ
ชาวภูเก็ตสร้าง ขยะวันละ 250 ตัน
ส่วนใหญ่เป็นถุงพลาสติกกับเศษอาหาร
ต้องใช้งบ ประมาณกำจัด ปีละ 100
ล้านบาท
จากการจัดการอภิปรายหัวข้อรวมพลังมือขยัน
สร้างสรรค์เมืองภูเก็ต
ที่ห้องจามจุรี โรงแรมภูเก็ต
เมอร์ลิน
เมื่อต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา
ซึ่งจัดโดย
องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต
ผู้ร่วมการอภิปราย ประกอบด้วย
นายชาญชัย สุนทรมัฏฐ์
ผู้ว่าราชการ จ.ภูเก็ต
นพ.ประสิทธิ์ โกยศิริพงศ์ นายก
อบจ.ภูเก็ต นายอิทธิพล สังฆ์แก้ว
เทศมนตรีเทศบาลตำบล กะรน
นายไชยวัฒน์ ธำรงศรีสุข
ปลัดเทศบาลเมือง ภูเก็ต
นพ.ศิริชัย ศิลปอาชา
กรรมการหอการค้า นางปานจิตร
ตฤตียปุตรานนท์ ผอ.กองสาธารณสุข
และสิ่งแวดล้อมเทศบาลตำบลป่าตอง
น.ส.เจนจิรา พันธรังษี
อาสาสมัครมือขยัน โดยมี นิภาพรรณ
งามวิทยาพงศ์
เป็นผู้ดำเนินการอภิปราย
ซึ่งผู้อภิ
ปรายแต่ละคนได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหา
ขยะและการจัดการขยะกันอย่างกว้างขวาง
ในขณะที่นายไชยวัฒน์ ธำรงศรีสุข
ปลัดเทศ
บาลเมืองภูเก็ตกล่าวตอนหนึ่งว่า
ในกากรกำจัดขยะ
โดยเฉพาะแบบเตาเผานั้นต้องใช้
งบประมาณเป็น จำนวนมาก
อัตราเฉลี่ยเฉพาะค่ากำจัดนับตั้งแต่
การเผา การกำจัดกากเถ้า
การดูแลรักษาไม่ให้เกิด
มลพิษเบ็ดเสร็จ
แล้วตกตันละประมาณ 281 บาท
ทั้งนี้ยังมีค่าการจัดการคือการใช้บุคลากรตั้งแต่คน
เก็บขยะ
คนทำหน้าที่เผาขยะตรวจสอบจัดการต่าง
ๆ อีกตันละ 423 บาท
รวมแล้วจะตกตันละ 704 บาท
ทั้งนี้ยังไม่รวมค่าต้นทุนหลักเช่นค่าก่อสร้าง
เตาเผา
ค่าที่ดินสำหรับใช้ดำเนินการทั้งหมด
ค่าสึก หรอเสื่อมราคาของอุปกรณ์
ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงน้ำ
มันหล่อลื่น
ดังนั้นหากจะรวมว่าค่ากำจัดตกตันละ
1,000 บาทก็คงจะได้
นายชัยวัฒน์กล่าวว่า
ในภูเก็ตมีขยะเกิดขึ้น
ประมาณวันละ 250 ตัน
หากคำนวณจากตันละ 1,000
บาทก็จะต้องใช้เงินวันละ 250,000 บาท
รวมทั้งปีกว่า 90 ล้านบาท นับง่าย ๆ
เป็นปีละ 100 ล้านบาท หรือนับเป็น 1
ใน 3 ของงบ
ประมาณของเทศบาลเมืองภูเก็ตที่มีประมาณ
300 ล้านบาทเลยทีเดียว
นายชัยวัฒน์กล่าวอีกว่า
ค่าใช้จ่ายดังกล่าวนี้
เกิดมาจากประชาชนทุกคนเป็นสาเหตุ
ทั้งนี้เฉลี่ย แล้วในภูเก็ต 1
คนจะสร้างขยะประมาณ 1 ก.ก. เรามี 250,000
คนก็เป็น 250 ตันต่อวัน ซึ่งขยะ
เหล่านี้เป็นขยะที่ไม่จำเป็นที่ต้องเกิดขึ้นเสียเป็นส่วน
ใหญ่
ซึ่งขยะนี้ประกอบไปด้วยเศษอาหารทั้งหลาย
พวกหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งคือ
ถุงพลาสติกหรือวัสดุที่ใช
้ในการทำหีบห่อบรรจุของทั้งหลาย
"เราไปตลาดเพื่อจ่ายกับข้าวเราก็ไปมือเปล่า
ซื้อผัก 1 กำก็ใส่ถุงพลาสติก 1 ถุง
ซื้อพริกอีก 5 บาทอีก 1 ถุง
ซื้อเนื้อ 1 ถุง ปลา 1 ถุง และอื่น ๆ
อีกรวมแล้วเรานำขยะกลับมาบ้านมากมาย"
นาย ชัยวัฒน์กล่าว
และว่าหากเรารู้จักช่วยกันเช่น
ใช้ ตะกร้าไปซื้อ
ของโดยไม่ต้องสร้างขยะ
เชื่อว่าจะ
สามารถลดปริมาณขยะของภูเก็ตได้มากกว่าครึ่ง
ที่สำคัญงบประมาณที่ใช้ในการดำเนินการต่าง
ๆ
เพื่อหนทางในการกำจัดก็ต้องมากขึ้นตามปริมาณ
ขยะไปด้วย
แทนที่จะได้นำเงินเหล่านี้มาใช้ในการ
พัฒนาประเทศ
พัฒนาสาธารณูปโภคในแต่ละ
ท้องถิ่นน่าจะดีกว่า
นายชัยวัฒน์กล่าวเพิ่มเติมว่า
ที่กล่าวมา
นี้เฉพาะในเรื่องของขยะเพียงอย่างเดียวเท่านั้นที่
หน่วยงานภาครัฐต้องจัดสรรงบประมาณมาดำเนิน
การมากมายทั้งที่เราช่วยกันประหยัดได้
นอกจาก
นั้นยังจะมีเรื่องของน้ำเสีย
เรื่องมลพิษทางอากาศ
และปัญหาอื่น ๆ
ซึ่งล้วนต้องนำเงินงบประมาณ
ซึ่ง
มาจากภาษีของพี่น้องประชาชนทุกคนมาใช้ในการ
แก้ปัญหาทั้งสิ้น ดังนั้น
เราน่าจะช่วยกันรณรงค์
ในเรื่องนี้
ซึ่งในการคัดแยกขยะก็เป็นอีกแนวทาง
หนึ่งที่ทำให้การจัดการง่ายขึ้น
และสามารถช่วยลด
ภาระนี้ได้ส่วนหนึ่ง
|