|
|
|
เคลียร์แรงงานพม่าใหม่
ทนถูกรีดส่วยไม่ได้กลับไป!
จังหวัดภูเก็ตเริ่มต้น
เคลียร์แรงงานต่างด้าวระลอกใหม่
หลังจากรัฐบาลยืดเวลาผ่อนผันให้อีกถึงปี
44 ระเบียบกติกาเหมือนเดิม
ต้องไม่มีครอบครัว
ถ้าเป็นหญิงท้องให้ส่งกลับ
กำหนดโควต้าไว้ที่ 5,308 คน
ทั้งเก่าและใหม่
จะต้องไปรายงานตัว
เสียค่าธรรมเนียม
ขอใบอนุญาต์ให้ถูกต้อง
ว่าแรงงานที่หนีออกนอกระบบ
เพราะทนถูกรีดส่วยหลายต่อไม่ไหว
ก็น่าจะกลับไป
ส่วนสถิติไล่แรงานต่างด้าวกลับเมืองภูเก็ตทำได้มากที่สุด
นายชาญชัย สุนทรมัฏฐ์
ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต
กล่าวภายหลังการเป็นประธานในการประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาการทำงานของคนต่างด้าวจังหวัดภูเก็ต
ครั้งที่ 1/2543 ว่า
ตามที่มติคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าว
เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2543
อนุญาตให้แรงงานต่างด้าวเข้าเมืองผิดกฎหมาย
สัญชาติ พม่า ลาว และกัมพูชา
ทำงานต่อได้ 1 ปี
ในพื้นที่ที่ได้รับการผ่อนผัน
และจำนวนเดิมตามมติคณะรัฐมนตรี
พ.ศ. 2542
โดยอนุญาตให้ทำงานถึงวันที่ 31
สิงหาคม 2544
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่
30 พฤศจิกายน 2543
และคนต่างด้าวจะต้องไม่มีสมาชิกในครอบครัวติดตาม
หากเป็นหญิงมีครรภ์จะต้องถูกส่งตัวกลับ
โดยในส่วนของจังหวัดภูเก็ตได้ทำความเข้าใจและชี้แจงให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวมทั้งผู้ประกอบการที่ได้รับการผ่อนผัน
ได้ทราบถึงแนวทางการดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามมาตรการที่กำหนดไว้เป็นการป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นภายหลัง
ทั้งในส่วนของการประกันตัว
การตรวจสุขภาพ การประกันสุขภาพ
บัตรประกันสังคม
และการขอรับใบอนุญาตทำงาน
ทั้งแรงงานเก่าและแรงงานใหม่
ในส่วนของจังหวัดภูเก็ตได้ผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายสัญชาติพม่า
ลาว และกัมพูชา
ในกิจการประมงจำนวน 1,309 คน
กิจการต่อเนื่องจากประมงทะเล 555
คน และก่อสร้างจำนวน 2,115 คน
รวมทั้งสิ้น 5,038 คน
ซึ่งแรงงานเหล่านี้นายจ้างจะต้องนำมารายงานตัวที่สถานีตำรวจภูธรในพื้นที่
ยื่นตรวจสุขภาพและทำบัตรประกันสุขภาพที่โรงพยาบาลประจำอำเภอ
ยื่นขอรับบัตรประกันสังคม ณ
สำนักงานประกันสังคมจังหวัดภูเก็ต
และยื่นขอรับใบอนุญาตเข้าทำงานที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดภูเก็ต
โดยค่าใช้จ่ายในการดำเนินการตามขั้นตอนนั้น
ยังคงเป็นจำนวนเท่ากับปีที่ผ่านมา
"แรงงานในกิจการอื่น
ที่ไม่เกี่ยวกับการผ่อนผัน
ก็จะต้องมีการผลักดันออกไป
แรงงานที่เข้ามารายงานตัวนั้น
น่าจะมีทั้งที่เป็นแรงงานเก่าที่เคยผ่อนผัน
และแรงงานใหม่
ก็ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของเจ้าหน้าที่
ว่าจะให้เข้าทำงานหรือไม่
แต่ต้องไม่เกินโควต้าที่กำหนดไว้ของภูเก็ตนั้น
5,038 คน
แต่หากผู้ประกอบการต้องการเพิ่มก็ต้องแจ้งความจำนงให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ
เพื่อนำเสนอให้หน่วยเหนือพิจารณาต่อไป"
ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต
กล่าวต่อว่า
ในส่วนของค่าจ้างนั้นได้มีการกำหนดให้จ่ายเท่าค่าแรงขั้นต่ำ
ซึ่งในจังหวัดภูเก็ตอยู่ที่วันละ
162 บาท
และเพื่อไม่ให้เกิดความสับสนก็ได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องออกประกาศแจ้งให้ผู้ประกอบการที่ต้องการจ้างแรงงานต่างด้าวทราบแล้ว
ทางด้านการผลักดันแรงงานเถื่อน
หรือแรงงานต่างด้าวที่ไม่ได้รับการผ่อนผันนั้น
ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ของจังหวัดภูเก็ตมีสถิติการผลักดันมากที่สุด
เกี่ยวกับเรื่องแรงงานต่างด้าวที่พากันหนีออกนอกระบบ
ไปเป็นแรงงานเถื่อน
เพราะทนถูกเจ้าหน้าที่ข่มขู่รีดส่วยซ้ำซ้อน
ทั้งๆ
ที่ได้เสียค่าธรรมเนียมขออนุญาตทำงานให้กับทางราชการแล้วนั้น
เรื่องนี้นายชาญชัยกล่าวว่า
ไม่ว่าจะเป็นแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาอย่างถูกกฎหมายหรือผิดกฎหมายก็ตาม
การที่จะมาบอกว่าถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจรีดไถเป็นเรื่องที่สอบสวนไม่ได้
ไม่มีพยานหลักฐาน
และไม่มีใครกล้ายืนยัน
เป็นการพูดต่อๆ กันมาปากต่อปาก
หรือบางครั้งมาแจ้งความ
เมื่อให้ชี้ตัวว่าใครเป็นผู้รีดไถก็ไม่ยอมชี้
ก็ทำอะไรไม่ได้
เจ้าหน้าที่จึงไม่อยากเข้าไปยุ่งเกี่ยว
อีกอย่างหนึ่งก็คือ
ถ้าหากว่าโดนรีดไถจริง
ถ้าทนไม่ได้ทำไมไม่กลับประเทศ
เพราะทางจังหวัดก็ไม่อยากให้อยู่
แต่ถ้าเป็นคนไทยที่เข้ามาทำงานในจังหวัดภูเก็ตแล้ว
โดนเจ้าหน้าที่ตำรวจข่มขู่
หรือนายจ้างโกง
ทางจังหวัดก็จะส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบให้ทันที
สำหรับระยะเวลาในการรายงานตัว
เดิมนั้นกำหนดให้แล้วเสร็จภายในวันที่
6 กันยายนนี้
แต่ได้รับแจ้งจากส่วนกลางว่าเป็นระยะเวลาที่กระชั้นชิดเกินไป
จึงได้มีการยืดระยะเวลาออกไปจนถึงวันที่
2 ตุลาคมนี้
เพราะมีกิจการบางประเภทที่อาจจะเข้ามารายงานตัวไม่ทัน
เช่น ประมงทะเล เป็นต้น.
|