|
|
|
เด็กชาวเลภูเก็ต
ถูกละเมิดสิทธิน่าห่วง
สมาคมพิทักษ์เด็กภูเก็ต
ให้ความช่วยเหลือเด็กชาวเล
โดยเปิดเป็นโครงการนำร่องให้เด็กรู้จักอาชีพการแล่นเรือ
ขณะที่ระบุความเป็นมาของการก่อตั้งสมาคมฯ
เพราะเด็กชาวเลและเด็กกลุ่มที่มีอายุประมาณ
6-12 ปี ถูกละเมิดสิทธิ ตั้งแต่ปี 39
มีกว่า 10 คดีที่เกิดดังกล่าวนี้
นางสาวกฤษณา วรรณคำ
ผู้จัดการสมาคมพิทักษ์เด็กภูเก็ต
เปิดเผยต่อผู้สื่อข่าวว่า
สมาคมพิทักษ์เด็กภูเก็ตได้ก่อตั้งสมาคมตั้งแต่ปี
2539 มาจนถึงขณะนี้เป็นเวลา 5 ปีแล้ว
ก่อนที่จะก่อตั้งเป็นสมาคมฯ
นั้น
เนื่องจากมีเด็กชาวเลและเด็กอายุ
6-12 ปี
ถูกล่วงเกินทางเพศหรือถูกละเมิดสิทธิร่วม
10 คน
โดยอาจารย์ชาวต่างชาติที่เป็นอาจารย์สอนภาษาอังกฤษอยู่ที่มหาวิทยาลัยชื่อดังในจังหวัดภูเก็ต
ขณะนี้ได้รับโทษคือ จำคุก 33 ปี
เลยทำให้มีสมาคมฯ ดังกล่าว
ขึ้นมาจนถึงทุกวันนี้
นางสาวกฤษณา กล่าวอีกว่า
สภาพปัญหาของจังหวัดภูเก็ตในขณะนี้ยอมรับว่าเด็กถูกละเมิดสิทธิมีสูงพอสมควรจากปี
2539 จนถึงขณะนี้มีกว่า 10
คดีแล้วที่ส่วนใหญ่จะเป็นชาวต่างชาติที่ก่อปัญหานี้กับเด็ก
ขณะเดียวกันเด็กชาวเลก็เป็นกลุ่มเป้าหมายหนึ่งที่ถูกละเมิดสิทธิ
เนื่องจากมีการหลอกล่อด้วยเงินเสียส่วนใหญ่
สมาคมฯ
กำลังพยายามมองหาแนวทางการให้ความช่วยเหลือด้านต่างๆ
แก่เด็กชาวเลในพื้นที่ต่างๆ
อย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด
พร้อมกันนั้นยังมีการจัดกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ
อีกด้วย
และกิจกรรมหนึ่งที่สามารถช่วยเหลือเด็กกลุ่มนี้ได้ก็คือ
การปูพื้นฐานอาชีพการแล่นเรือให้แก่เด็กชาวเลเหล่านี้
โดยมีนาย Jose Luis Gay Cano
ซึ่งเป็นนักเดินเรือชาวสเปน
รับอาสาสมัครมาสอนอาชีพให้กับเด็กกลุ่มนี้โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ
ทั้งสิ้น
"ขณะเดียวกันทางสมาคมฯ
มีความเห็นว่าหากนาย Jose
ซึ่งเป็นผู้มีความชำนาญในการเดินเรือได้ทำการสอนและถ่ายทอดประสบการณืให้กับเด็กชาวเล
ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายที่สมาคมฯ
กำลังหาทางเข้าไปให้ความช่วยเหลือร่วมกับหน่วยงานต่างๆ
อยู่นี้
จะเป็นโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์อันจะส่งผลกระทบต่พัฒนาการด้านต่างๆ
ในทางสร้างสรรค์ อย่างกว้างขวาง
ต่อชีวิตของเด็กได้
และเด็กเหล่านี้เป็นนักเรียนโรงเรียนวัดสว่างอารมณ์
และโรงเรียนเกาะสิเหร่
โดยจะจัดให้เด็กมีความรู้และร่วมกิจกรรมในวันเสาร์และวันอาทิตย์เท่านั้น"
ผู้จัดการสมาคมฯ กล่าว
อย่างไรก็ตามหลังจากฝึกกิจกรรมการแล่นเรือแล้วเสร็จ
คาดว่าเด็กเหล่านี้สามารถนำไปประกอบอาชีพที่ถูกต้อง
อีกทั้งเป้าหมายหลักก็คือต้องการสร้างประสบการณ์เชิงสร้างสรรค์ให้แก่เด็กที่ขาดแรงจูงใจในด้านการเรียน
ประสบการณืการแล่นเรือจะส่งผลกระตุ้นเร้าให้ตระหนักถึงความสัมพันธ์และคุณค่าของการเรียนรู้ที่จะเกิดขึ้นทั้งในห้องเรียน
นอกห้องเรียนได้
คาดว่าในอนาคตภูเก็ตจะเป็นตลาดการแล่นเรือของโลกก็ได้
ซึ่งเด็กกลุ่มนี้เข้าสู่ตลาดการจ้างงานที่กำลังเติบโตได้อีกด้วย
|