ป่าไม้ภูเก็ตหมดปัญญา
เอาผิดผู้บุกรุกทำบ่อกุ้ง
น่าประหลาด ป่าไม้จังหวัด
เผยปัญหาการบุกรุกพื้นที่ป่าภูเก็ต
มีน้อย
ปีที่ผ่านมาพบการบุกรุกเพียง 200
ไร่
ส่วนการดำเนินคดีกับนายทุนที่บุกรุกป่าชายเลนคลองบางโรงที่เกิดคดีเย้ยผู้ว่าฯ
กำลังอยู่ระหว่างการรวบรวมหลักฐาน
คาดไม่สามารถเอาผิดนายทุนผู้บุกรุกได้
นายศรีสวัสดิ์ เหรียญโมรา ป่าไม้
ความคืบหน้ากรณีการดำเนินคดีกับนายทุนบุกรุกพื้นที่ป่าชายเลนคลองบางโรง
หมู่ 2 ต.ป่าคลอก อ.ถลาง จ.ภูเก็ต
เพื่อทำเป็นบ่อเลี้ยงกุ้งจำนวน 2
บ่อ พื้นที่ประมาณ 13 ไร่
ซึ่งทางป่าไม้ได้แจ้งความดำเนินคดีไว้ที่
สภ.อ.ถลาง ตั้งแต่ 21 ส.ค.43
เป็นต้นมาว่า
ขณะนี้อยู่ในระหว่างการรวบรวมหลักฐานของพนักงานสอบสวน
แต่ก็ติดปัญหาในเรื่องของพยานบุคคล
ที่ไม่กล้ามาให้ปากคำกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ
ยืนยันคนที่บุกรุกพื้นที่ป่าดังกล่าวเป็นใคร
และในขณะที่นายพงษ์โพยม วาศภูติ
ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต
พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่เข้าไปทำลายคันกั้นดิน
และบ่อกุ้ง
ก็ไม่มีใครรับเป็นเจ้าของ
"ทำให้ดำเนินการกับผู้ที่บุกรุกพื้นที่ดังกล่าวทำได้ยาก
แต่อย่างไรก็ตามในการดำเนินการเพื่อป้องกันและอนุรักษ์พื้นที่ป่านั้น
จะต้องดำเนินการอย่างเต็มที่
ซึ่งในระยะแรกนั้น
จะเป็นการยึดพื้นที่กลับมาเป็นของรัฐก่อน"
ป่าไม้จังหวัดภูเก็ตกล่าว
และว่าสำหรับการดำเนินการกับผู้บุกรุกพื้นที่ป่า
โดยเฉพาะการบุกรุกพื้นที่ป่าชายเลน
เพื่อเลี้ยงกุ้งนั้น
ในขั้นตอนต่อไปทางป่าไม้จังหวัด
จะดำเนินการตรวจพื้นที่บ่อกุ้งใกล้เคียงป่าชายเลนทุกแห่ง
หากตรวจพบว่าเป็นพื้นที่บุกรุกก็จะดำเนินการขั้นเด็ดขาด
ด้วยวิธีเดียวกับที่ผู้ว่าราชการจังหวัดดำเนินการไปแล้ว
นายศรีสวัสดิ์ กล่าวต่อไปว่า
สำหรับการบุกรุกพื้นที่ป่าไม้ของจังหวัดภูเก็ตนั้น
พบว่ามีปริมาณลดน้อยลง
ในส่วนของผู้บุกรุกเก่านั้น
ได้มีการกันเขตพื้นที่ทำกินบางส่วน
แต่ในส่วนของผู้ที่บุกรุกใหม่นั้น
ทางป่าไม้จะดำเนินกับผู้บุกรุกอย่างเฉียบขาด
และในการเฝ้าระวังรักษาป่านั้น
ทางป่าไม้ได้ขอความร่วมมือจากท้องถิ่น
ไม่ว่าจะเป็น อบต. กำนัน
ผู้ใหญ่บ้าน
ในพื้นที่ให้เฝ้าระวังการบุกรุกอย่างเต็มที่
โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ ต.ป่าคลอก อ.ถลาง
ซึ่งเป็นป่าเฉลิมพระเกียรติที่ยังอุดมสมบูรณ์
ได้มีการจัดตั้งกลุ่มอาสาพิทักษ์ป่าขึ้นมาดูแล
ก็ประสบความสำเร็จพอสมควร
จนสามารถได้รับธงจากสมเด็จพระบรมราชินีนาถ
เมื่อเดือนที่ผ่านมาถึง 2
ธงด้วยกัน
อย่างไรก็ตามจากการติดตามดำเนินคดีกับผู้บุกรุกป่าไม้ในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตนั้น
พบว่าในปีที่ผ่านมามีการบุกรุกประมาณ
200 ไร่
ก็สามารถดำเนินคดีได้ทั้งหมด
ซึ่งสถิติการบุกรุกลดลงกว่าปีก่อนหน้านี้มาก
และในปีนี้จะดูแลให้มีการบุกรุกน้อยที่สุด
ซึ่งการบุกรุกนั้น
ก็มีทั้งในส่วนของชาวบ้าน
และนายทุนที่บุกรุกเพื่อขายต่อ
หรือประกอบการเอง
สำหรับป่าชายเลน ต.ป่าคลอก อ.ถลางนั้น
ถือได้ว่าเป็นผืนป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์มากแห่งหนึ่ง
ของจังหวัดภูเก็ต
เนื่องจากมีชาวบ้านในพื้นที่ร่วมกันอนุรักษ์
มีการเฝ้าระวังการบุกรุก
มีการปลูกป่า
จนได้รับการจัดตั้งให้เป็นพื้นที่ป่าชายเลนเฉลิมพระเกียรติ
เนื้อที่ประมาณ 600 ไร่
และล่าสุดจากผลการสำรวจของชมรมสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ภูเก็ต
(นิด้า)
ที่ทำการสำรวจความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการบริหารงานองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดภูเก็ต
ในประเด็นต่างๆ ปรากฏว่า อบต.ป่าคลอก
ได้รับคะแนนสูงสุดในฐานะที่เป็น
อบต.ที่มีการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมดีเด่น
นอกจากนี้เมื่อเดือน ก.ย.43
ที่ผ่านมา กลุ่มชาวบ้านหมู่ที่ 2
ต.ป่าคลอก
ยังได้รับรางวัลในฐานะที่เป็นผู้ดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติดีเด่น
จนได้เข้าเฝ้ารับพระราชทานธงพิทักษ์ป่ารักษาชีวิตจากสมเด็จพระนางเจ้าฯ
พระบรมราชินีนาถที่พระตำหนักทักษิณราชนิเวชศ์
อันเป็นสัญลักษณ์ดีเด่นด้านการอนุรักษ์ป่าชายเลน
โดยใน 14
จังหวัดภาคใต้จะได้รับเพียง 9
จังหวัด และ
กลุ่มอนุรักษ์ของชาวบ้านหมู่ 2
อบต.ป่าคลอก
เป็นหนึ่งในหมู่บ้านที่ได้รับรางวัลดังกล่าว
แหล่งข่าวจากกลุ่มอนุรักษ์ป่าชายเลนเปิดเผยกับ
"ผู้จัดการรายวันว่า" ว่า
ปัญหาการบุกรุกป่าชายเลน
ของบรรดานักลงทุนเห็นแก่ตัวนั้น
เป็นมะเร็งที่เกาะกินทำลายสิ่งแวดล้อมพื้นที่ชายฝั่งทะเลอันดามัน
มานานหลายยุคหลายสมัย
เป็นการปล่อยปละละเลย
ที่ยืนยันได้ว่า "เจตนา"
ทำเป็นเอาหูไปนาเอาตาไปไร่ของเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง
ตั้งแต่ระดับบริหารลงมา
จนถึงระดับล่างสุด
ป่าชายเลนแหล่งเพาะพันธ์
และอนุบาลสัตว์น้ำหลากหลายชนิด
ทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นอาหารหลักของมนุษย์
นับวันจะถูกทำลายขยายวงกว้างออกไปทุกขณะทำให้อาหารจากสัตว์น้ำบริเวณชายฝั่งทะเลภูเก็ตลดน้อยลงไปจนชาวประมงพื้นบ้านได้รับความเดือดร้อนกันมาก
ไม่มีแหล่งทำมาหากิน
ได้มีการร้องเรียนกันมาตลอดหลายยุคหลายสมัย
ก็ยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง
"ผู้ว่าฯหลายต่อหลายคนที่หมุนเวียน
ปลี่ยนกันไปเปลี่ยนกันมา
ต่างก็รู้แต่ก็วางเฉย
ไม่รู้ไม่เห็น
ถ้าไม่มีการร้องเรียนจากราษฎร
หรือจากสื่อมวลชน
เมื่อถูกกระตุก กระตุ้นขึ้นมา
ก็แค่ออกอาการ
สั่งการให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องออกไปดำเนินการดูแลสะสาง
กับเรียกประชุมผู้เกี่ยวข้อง
แล้วก็ตั้งคณะกรรมการ
หรือคณะทำงานขึ้นมา
อย่างดีก็แค่ออกไปดูพื้นที่
กลับมาก็ประชุมกันสักครั้งสองครั้ง
แล้วก็ทำรายงานให้ผู้สั่งการคือ
ผู้ว่าฯรับทราบ
และขณะนี้กำลังดำเนิการแก้ไขอยู่
แค่นั้น ......ส่วนผู้ที่บุกรุกทำลายป่า
ต่างไม่สะทกสะท้าน
ยังคงขยายงานทำลายป่าต่อไป
ความรู้สึกเกรงเจ้าหน้ที่
และกลัวกฎหมายบ้านเมือง
ล้วนไม่อยู่ในสายตาของนายทุนกลุ่มนี้"
แหล่งข่าวกล่าว.
|