|
|
|
ให้ 3 ทางเลือก อบจ.ภูเก็ต
บริหารท่าเรืออ่าวฉลอง
ท่าเรืออ่าวฉลอง 141 ล้านบาท
ได้ฤกษ์เปิดบริการกุมภาพันธ์ปีหน้า
จ.ภูเก็ต
เรียกผู้บริหารโครงการหารือเรื่องการบริหารจัดการ
มี 3 ทางเลือกให้ อบจ.ภูเก็ต
ตัดสินใจ อบจ.ตั้งหน่วยงานขึ้นบริหารเอง
หรือให้จังหวัดร่วม
หรือเป็นเสือนอนกิน
ให้เอกชนเข้าบริหารแทน
ดร.สุเมธ ชัยเลิศวนิชกุล ปลัด จ.ภูเก็ต
เปิดเผยว่า ตามที่ จ.ภูเก็ต
ได้รับงบประมาณเงินกู้โออีซีเอฟ
และเงินสมทบจากกรมการปกครองจำนวน
141 ล้านบาท
ในการก่อสร้างท่าเทียบเรืออ่าวฉลอง
ซึ่งเป็นท่าเรือเพื่อการท่องเที่ยวของ
จ.ภูเก็ต ที่มีความยาว 720 เมตร ที่ ต.ฉลอง
อ.เมืองภูเก็ต นั้น
โดยมอบหมายให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ตเป็นเจ้าของโครงการนั้น
ปรากฏว่าขณะนี้การก่อสร้างแล้วเสร็จไปประมาณ
95%
โดยคาดว่าการก่อสร้างจะเสร็จเรียบร้อยและพร้อมที่จะเปิดให้บริการเรือท่องเที่ยวและเรือชาวบ้านได้ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า
ดังนั้นเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม
ที่ผ่านมา ทาง จ.ภูเก็ต
ได้เรียกคณะกรรมการบริหารโครงการท่าเทียบเรือท่องเที่ยวอ่าวฉลอง
มาประชุมเพื่อพิจารณาถึงการบริหารจัดการท่าเรืออ่าวฉลองภายหลังเปิดให้บริการ
อย่างไรก็ตามจาการศึกษาของบริษัทที่ปรึกษาที่
ททท.ได้ว่าจ้างให้ทำการศึกษาการก่อสร้างท่าเรืออ่าวฉลองได้กำหนดรูปแบบการบริหารท่าเรืออ่าวฉลองไว้ทั้งหมด
3 รูปแบบด้วยกัน คือ ทางเลือกที่ 1
จัดตั้งส่วนงานใหม่เพิ่มขึ้นใน
อบจ.
สำหรับทำหน้าที่บริการและจัดการท่าเรือแต่ละแห่งขึ้นเป็นการเฉพาะแบบเบ็ดเสร็จ
โดยมีโครงสร้างภายในประกอบด้วยงานปฏิบัติการและงานด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
ทางเลือกที่ 2 ปรับปรุงโครงสร้าง
อบจ.ภูเก็ต
โดยจัดตั้งส่วนงานใหม่ขึ้นมารับผิดชอบงานบริหารจัดการท่าเรือแห่งใหม่ที่เพิ่มขึ้น
และมอบหมายงานที่มีลักษณะใกล้เคียงกับงานที่มีอยู่แล้วให้กับหน่วยงานเดิมรับผิดชอบ
ซึ่งรูปแบบที่สองนี้มีลักษณะใกล้เคียงกับทางเลือกที่
1
เพียงแต่งานในหมวดบริหารทั่วไปจะอยู่ในความรับผิดชอบของ
สนง.เลขานุการจังหวัด
และส่วนคลัง แล้วแต่กรณี เช่น
งานธุรการ งานบริหารบุคคล
และงานประชาสัมพันธ์จะอยู่ในความรับผิดชอบของ
สนง.เลขานุการจังหวัด เป็นต้น
ทางเลือกที่ 3 อบจ.ภูเก็ต
มอบหมายให้เอกชนเข้ามาดำเนินการบริหารและจัดการท่าเรืออ่าวฉลอง
โดยการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม
ค่าบริการ
หรือค่าตอบแทนที่เกี่ยวข้องแทน
อบจ.ภูเก็ต ซึ่งทางเลือกนี้ อบจ.สามารถดำเนินการได้
แต่ต้องได้รับความเห็นชอบจากสภา
อบจ. และผู้ว่าฯภูเก็ต ก่อน
อย่างไรก็ตาม
บริษัทที่ปรึกษายังระบุอีกว่าทางเลือกที่
3
เป็นทางเลือกที่เหมาะสมมากที่สุด
และสอดคล้องกับนโยบายของรัฐ
ในการให้เอกชนเข้ามาดำเนินกิจกรรมบางอย่างแทนหน่วยงานของรัฐ
โดยที่ อบจ.
ไม่จำเป็นต้องจัดตั้งหน่วยงานขึ้นมาดูแลเรื่องนี้
ดร.สุเมธ กล่าวต่อว่า
จากการประชุมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เห็นด้วยเป็นอย่างมากที่จะให้เอกชนเข้ามาบริหารท่าเรืออ่างฉลองแทน
อบจ.
แต่ต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการที่จัดตั้งขึ้นมาชุด
หรือที่เรียกว่าคณะกรรมการกำกับดูแลท่าเรือท่องเที่ยว
จ.ภูเก็ต
ซึ่งคณะกรรมการชุดนี้จะประกอบตัวแทนจาก
3 องค์กร
|
|