|
|
|
ม็อบวัดฉลองอัดเละไวยาวัจกร
ชาวบ้านตำบลฉลองชุมนุมเรียกร้องให้ปลดไวยาวัจกรวัดฉลอง
เนื่องจากไม่ไว้ใจในการบริหารจัดการเรื่องการเงินของวัด
รวมทั้งการจัดงานประจำปี 2544
เมื่อบ่ายวันที่ 12
ธันวาคมนี้ที่บริเวณลานวัดไชยธาราราม
ต. แ,อง อ. เมืองภูเก็ต
ได้มีกลุ่มชาวบ้านในพื้นที่ประมาณ
500 คน ได้รวมตัวชุมนุมกัน
นำโดยนายมนู เขียวคราม นายจเร
มณีศรี นายสมคูณ ชอบดี
รวมทั้งนายสุวิทย์ ว่องไว
เนื่องจากต้องการได้รับคำตอบจากพระครูอุดมเวชกิจเจ้าอาวาส
เกี่ยวกับกระแสข่าวลือว่าในปี 2544
ทางวัดจะงดจัดงานประจำปีและขอให้พิจารณาปลดนายเสมียน
สุวรรณรัตน์ อดีตกำนันตำบลฉลอง
ซึ่งดำรงตำแหน่งไวยาวัจกรวัด
ที่มีพฤติการณ์ที่ไม่โปร่งใส
โดยเฉพาะการบริหารจัดการเรื่องเกี่ยวกับการเงินที่หมุนเวียนของวัดฉลอง
โดยกลุ่มประชาชนตำบลฉลองได้เคลื่อนไหวมาอย่างต่อเนื่อง
จนกระทั่งถึงวันอาทิตย์ที่ 10
ธันวาคมที่ผ่านมา
มีการตั้งกรรมการเป็นตัวแทนเข้าไปหารือกับเจ้าอาวาส
โดยมี พ.ต.ท. สติ มาลกานนท์ หัวหน้า
สภ.ต. ฉลองและตัวแทนจาก อ.เมืองภูเก็ตเข้าร่วมด้วย
แต่ยังไม่เป็นผม
และทางวัดรับปากว่า
ขอให้มารับทราบคำตอบในวันที่ 12
ธันวาคมแทน อย่างไรก็ดี
นายเสมียน สุวรรณรัตน์
ไวยาวัจกรวัดฉลอง
คู่กรณีกับประชาชน
ไม่ได้ออกมาพบปะและร่วมประชุมเพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าแต่อย่างใด
สำหรับบรรยากาศการชุมนุมในครั้งนี้
แกนนำผู้ชุมนุมประท้วง
ได้ผลัดกันขึ้นไปพูดกล่าวโจมตี
นายเสมียน
สุวรรณรัตน์และคณะอย่างต่อเนื่อง
เพื่อเรียกร้องให้ออกมารับผิดชอบ
และต่อมามีการตั้งกรรมการเป็นตัวแทนเข้าหารือกับพระครูอุดมเวธกิจ
เจ้าอาวาสและผู้แทนฝ่ายต่าง ๆ
อีกครั้งหนึ่ง
จนที่ประชุมตัวแทนได้ข้อสรุปว่า
การจัดงานประจำปีของวัดจะจัดขึ้นต่อไปในปี
2544
ส่วนวันที่แน่นอนจะกำหนดเพื่อความเหมาะสมอีกครั้ง
หนึ่ง ส่วนนายเสมียน
สุวรรณรัตน์นั้น
ทางวัดยินดีให้ออกจากตำแหน่งไวยาวัจกรภายใน
2 เดือนนับจากวันที่ 12 ธันวาคมนี้
พร้อมกับทางวัดได้ทำหนังสือยืนยันชัดเจนเพื่อให้นายเสมียนและคณะรับผิดชอบเคลียร์งานที่รับผิดชอบให้เสร็จสิ้นเรียบร้อย
โดยเฉพาะในเรื่องเกี่ยวกับรายได้
รายรับของวัดฉลอง
ที่เกิดขึ้นในช่วงการจัดงานประจำปี
2543 ที่ผ่านมา ปรากฏว่า
ประชาชนมีความพอในมติที่ประชุม
ได้สลายตัวในเวลาต่อมา
หลังจากนั้นนายอำนวย สงวนนาม
รองผู้ว่าราชการ จ.ภูเก็ต
ได้เข้าพบพระครูอุดม เวธกิจ
เจ้าอาวาสวัดฉลอง
เพื่อทราบความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหา
ความขัดแย้งระหว่างประชาชนใน ต.ฉลองกับไวยาวัจกรวัดและคณะ
ข่าวแจ้งว่า ในปี 2544
วัดฉลองมีกำหนดหยุดการจัดงานประจำปี
เนื่องจากว่าต้องการที่จะจัดงานสมโภชพระบรมสารีริกธาตุครบรอบ
1 ปี
โดยมีการประสานงานกับส่วนกลางบางส่วน
แต่ไม่ได้มีกำหนดการทีชัดเจนทำให้ประชาชนไม่พอใจ
เพราะการจัดงานประจำปี
มีการจัดงานมาอย่างต่อเนื่องตังแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
นอกจากนี้แหล่งข่าวกล่าวว่า
การจัดงานประจำปีที่ผ่านมา
หากพิจารณาแล้ว
ค่าจัดเก็บร้านค้าต่าง ๆ
จะได้สูงถึงประมาณ 3 ล้านเศษ
แต่กลับไม่มีการประชุมชี้แจงรายละเอียด
รายรับ
รายจ่ายให้สาธารณชนทราบประกอบกับนายเสมียน
สุวรรณรัตน์อ้างว่า
ตนเองมีอำนาจเฉพาะการจัดงานปี 2543
ช่วง 7
วันเท่านั้นประชาชนจึงไม่เชื่อมั่นว่าการทำงานจะโปร่งใส
แต่เห็นว่ามีการหมกเม็ด
ต้องมีการเปลี่ยนแปลงไวยาวัจกร
และไวยาวัจกรคนเดิมต้องออกมารับผิดชอบร่วมกับคณะทั้งหมด
เนื่องจากตำแหน่งไวยาวัจกรวัดฉลองนี้
นายเสมียน
ได้ดำรงตำแหน่งมาเป็นเวลานานแล้ว
แต่กลับไม่มีบทบาทหน้าที่ในการช่วยพัฒนา
ปรับปรุงวัดไชยธารารามหรือวัดฉลอง
ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย
พื้นที่โดยรอบยังมีขยะมูลฝอย
สกปรก
ไม่เหมาะสมกับเป็นศาสนสถาน
ที่ประชาชนชาวภูเก็ตและต่างจังหวัดตลอดจรนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ
เข้ามาเคารพสักการะและเยี่ยมชม
นอกจากนี้แหล่งข่าวรายหนึ่งเปิดเผยว่า
การจัดงานวัดฉลองนั้น
ทางกรรมการวัดควรมีวิสัยทัศน์ในการจัดงาน
โดยไม่ให้มีความเสื่อมเสียใด
ๆเกิดขึ้นในอาณาเขตของวัด
เพราะทุกๆ
ปีที่ผ่านมามักจะมีคำครหาว่า
บรรดาร้านค้า อาหารเครื่องดื่ม
มีการจำหน่ายในราคาสูงมาก
รวมไปถึงการจัดเก็บค่าจอดรถ
ซึ่งอาจจะเป็นผลสะท้อนว่า
กรรมการวัดที่รับผิดชอบในการจัดงานประจำปี
เรียกร้องจัดเก็บค่าที่ค้าขายในวงเงินที่สูง
ผู้ประกอบการค้า
จึงจำเป็นอยู่ดีในการขึ้นราคาสินค้าและบริการทั้งหมด
แต่ผลเสียหายตกอยู่ทางวัดฉลองและประชาชน
และนักท่องเที่ยวได้รับความเดือดร้อนรำคาญ
"แต่ละปีที่จะมีการจัดงานประจำปีของวัดฉลอง
เจ้าอาวาสวัดจะเรียกประชุมผู้นำหรือแกนนำชุมชนเพื่อหาแนวทางการจัดงานที่เหมาะสม
การจัดงานไม่มีอะไรที่สร้างสรรค์เท่าที่ควรจะเป็นทุกปีๆ
ทั้ง ๆ ที่ประชาชนในพื้นที่ ต.ฉลองและทั้งจังหวัดภูเก็ตทราบดีว่า
มีรายได้เข้าวัดในแต่ละปีนั้นมีมหาศาลแทนที่จะไปสร้างถาวรวัตถุ
อาคารต่าง ๆ
น่าจะมีคณะกรรมการวัดที่มีความคิดอ่านในการบริหารจัดการหรือคิดทำกิจกรรมหรือโครงการที่สร้างสรรค์
เพื่อให้บ้านกับวัดอยู่ในสังคมอย่างเหมาะสม
เพราะเม็ดเงินการบริจาคต่าง ๆ
ก็ล้วนได้รับจากประชาชนและนักท่องเที่ยว
ดังนั้นน่าจะกลับคืนชาวบ้านตามสมควร"
แหล่งข่าวกล่าวและว่า
จนถึงทุกวันนี้
ไม่มีใครทราบยอดเงินที่มีอยู่ของวัดฉลองมีจำนวนมากน้อยเพียงใดใครเป็นผู้รับผิดชอบ
มีอำนาจสูงสุดจัดการ
การชุมนุมเรียกร้องให้ไวยาวัจกรกับคณะออกไป
ในครั้งนี้จะเป็นนิมิตรหมายอันดีว่า
ทุกสถาบันจะต้องมีความโปร่งใส
ไม่ว่าบ้าน วัด ราชการ
หรือนักการเมือง
|