นิเทศศาสตร์ราชภัฏ
ฉายหนังเสริมความรู้ สถาบันราชภัฏภูเก็ตร่วมกับ
กลุ่มใบไม้ป่า
จัดเทศกาลภาพยนตร์ ชมฟรี 4
เรื่องใหญ่ระดับโลก เสริม
ความรู้ด้วยการสนทนาเรื่องวรรณ
กรรมกับภาพยนตร์ ให้นักศึกษา
นิเทศศาสตร์
คณะนักศึกษาโปรแกรมวิชานิเทศศาสตร์
สถาบันราชภัฏภูเก็ต
ร่วมกับกลุ่มใบไม้ป่า จัด
เทศกาลภาพยนตร์และสนทนาเรื่องวรรณกรรม
บนแผ่นฟิล์ม โดยมีนายชิรวัตร
นิจเนตร อธิการบดี เป็นประธาน
เปิดงาน และ นายพิบูลย์ศักดิ์
ละครพล และ นาย วสันต์ สิทธิเขตต์
ร่วมเป็นวิทยากรสนทนาความเชื่อม
โยงกันระหว่างวรรณกรรมและการดัดแปลงเป็นบทภาพ
ยนตร์
โดยเลือกภาพยนตร์จากวรรณกรรมคลาสสิคระดับ
โลกมาฉายให้คณาจารย์ นักศึกษา
และเจ้าหน้าที่ได้ชมฟรี ถึง 4
เรื่อง คือ เหยื่ออธรรม
โจนาธานเฒ่าผจญทะเล
และเรื่องสู่ฝันอันยิ่งใหญ่
ที่ห้องโสตทัศนศึกษา หอสมุดสถา
บันราชภัฏภูเก็ต
พร้อมกันนี้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
กับวิทยากรและจัดจำหน่ายหนังสือและวรรณกรรมร่วม
สมัยในราคาพิเศษด้วย
นายชิรวัตรกล่าวว่า
การอ่านวรรณกรรมนั้น นักศึก
ษาที่เรียนทางด้านนิเทศศาสตร์หรือโปรแกรมวิชาอื่นๆ
ควร
พิจารณาเลือกให้เหมาะสมและเป็นประโยชน์ต่อตนเอง
ครอบครัว
และสังคมมากกว่าการเลือกรับสื่อที่มีความโน้ม
เอียงไปในทางที่เสื่อมเสีย
นอกจากนี้หากมีโอกาสในการ
เขียนวรรณกรรมและภาพยนตร์
จะต้องสนใจในเรื่องเนื้อหา
สาระและผลประโยชน์ที่กลุ่มผู้อ่านและกลุ่มผู้ชมจะได้รับ
"ในต่างประเทศเขาพยายามแบ่งเกรดผู้ชมว่าอายุ
เท่านี้ไม่สามารถชมได้
เพราะยังไม่รู้เท่าทันพอที่จะแยก
แยะข้อดีข้อเสีย
ในอดีตเป็นเรื่องจริงที่มีเด็กระดับชั้นประถม
ศึกษาของไทยกระโดดตึกเพราะแกเข้าใจว่าบินได้เหมือนได้มดแดน
มดเอ็กซ์ มดดำต่างๆ
จึงอยากให้นักศึกษาหรือผู้ชมภาพ
ยนตร์ใช้วิจารณญาณในการชมมากกว่า"
นายชิรวัตรกล่าว
ในขณะที่นายพิบูลย์ศักดิ์
กล่าวว่า วรรณกรรมผู้
เขียนพยายามถ่ายทอดเนื้อหาและเรื่องราวผ่านตัวละครโดย
เลือกใช้ถ้อยคำและภาษาภาพยนตร์ที่ทำให้ผู้อ่านมีจิตนา
การตามไปด้วย
แต่เมื่อมีการถ่ายทอดเป็นบทภาพยนตร์
แล้วมีความเป็นไปได้สูงว่าอรรถรสของวรรณกรรมจะด้อย
ลงไป
แม้ว่าผู้สร้างภาพยนตร์จะพยายามคงบทสนทนาหรือ
บางฉากบางตอนเอาไว้ตามต้นฉบับเดิม
นอกจากนี้ การ
คัดเลือกผู้แสดงต้องมีความพิถีพิถัน
เพราะในบางครั้งไม่
สามารถที่จะแสดงได้สมบทบาทซึ่งมีส่วนทำให้ผู้ชมที่เคย
อ่านวรรณกรรมเรื่องนั้นมาก่อนเบื่อหน่ายมากกว่า
"วรรณกรรมกับภาพยนตร์มีความแตกต่างกัน
เมื่อ
วรรณธกรรมถูกถ่ายทอดเป็นภาพยนตร์แล้ว
ผู้ที่เคยติด
ตามอ่านหนังสือมาก่อนจะรับรู้ว่าเนื้อหารายละเอียดบาง
ส่วนบางตอนจะหายไป
แม้ว่าแก่นของเรื่องยังปรากฏอยู่
ก็ตามแม้จะมีภาพและเสียงให้ได้สัมผัส
แต่หนังสือนั้นยัง
เหลือพื้นที่ให้คนอ่านได้คิด
ได้จินตนาการ" นายพิบูลศักดิ์
กล่าว
ส่วนที่อาร์ตแกลเลอรี่
โรงแรมเดอะโบทเฮ้าส์ หาด กะตะ
อ.เมืองภูเก็ต
มีการจัดแสดงนิทรรศการภาพถ่าย
ผลงานของนายสุเทพ กฤษณวรินทร์
ช่างภาพอิสระชาว ไทยวัย 30 ปี
ในหัวข้อเรื่องซินเจียง...การเดินทางไปสู่ดิน
แดนแห่งทรายของกาลเวลาโดยประกอบไปด้วยภาพถ่ายสี
ซึ่งมีทั้งทัศนียภาพที่สวยงามและวัฒนธรรมตลอดจนวิถี
ชีวิตของประชาชนรวมทั้งหมด 26 ภาพ
ทั้งนี้ช่างภาพอิสระชาวไทยระบุว่า
ต้องการที่จะนำ
เสนอดินแดนที่ห่างไกลผู้คนหรืออยู่ในท้องถิ่นที่ทุรกันดาร
ของซินเจียง
ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
คาซักค สถาน ทาจิกสถาน
หรือเคอจิกสถาน
ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ
เส้นทางสายแพรไหม
หรือเส้นทางการค้าโบราณ
ที่ต่อเนื่อง
จนถึงปัจจุบันโดยตั้งใจเดินทางโดยลำพังพร้อมกับรถจิ๊ป
เป็นเวลานาน 2 เดือน เป็นระยะทาง
80,000 กิโลเมตร
และใช้ชีวิตทั้งในทะเลทรายและในดินแดนที่ปกคลุมด้วย
หิมะ
พร้อมกับพยายามถ่ายทอดสิ่งที่พบเห็นเป็นภาพถ่าย
สำหรับผู้สนใจยังสามารถชมนิทรรศการได้ฟรีจนถึงวันที่
30 กรกฎาคมนี้
"ผมพบว่าการเดินทางไปยังเส้นทางชีวิตของผู้คนที่
มีความแตกต่างในฐานะที่เป็นช่างภาพอิสระต้องการที่จะ
บันทึกเรื่องราวที่ไม่ค่อยได้พบเห็นกันมากนักจากวิถีชีวิต
ของผู้คนที่อยู่ห่างไกลและใช้ชีวิตในธรรมชาติและสิ่งแวด
ล้อม
โดยภาพถ่ายหรือสไลด์สีเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องมือ
สื่อสารที่ต้องการจะบอกให้โลกภายนอกได้รับรู้ถึงความเป็น
ไปของพวกเขา
โดยผ่านมุมมองของคนเอเซียคนหนึ่ง"
สุเทพกล่าวและว่า
มุ่งหวังที่จะใช้ภาพที่สร้างสรรค์บนแผ่น
ฟิล์มที่เป็นไปโดยธรรมชาติไม่มีการปรุงแต่งหรือการจัดฉาก
แต่อย่างใด
เป็นเสมือนการถ่ายทอดความรู้สึกนิดคิดเบื้อง
ลึกของตนเองออกมา
เพื่อให้วัฒนธรรมและวิถีชีวิตของกลุ่มชนที่แรมทางผ่านพบแม้จะเป็นชนกลุ่มน้อยได้รับการ
พิจารณารักษาให้คงอยู่
ถึงจะเป็นการกระทำที่เป็นส่วน
เล็กน้อย
นายสุเทพกล่าวย้ำว่า
เส้นทางสายแพรไหมเป็นเรื่อง
ราวที่อยู่ในความฝันของตนเองมานานหลังจากที่เตรียม
การสำหรับทุกสิ่งทุกอย่างเป็นเวลานานถึง
3 เดือน จึงเริ่ม
ต้นการเดินทางผจญภัยครั้งสำคัญของชีวิต
เพราะความ
ตั้งใจคือการสร้างความเข้าใจกับผู้คนที่เข้มาในเส้นทาง
ด้วยความรู้และประสบการณ์ของตนเองโดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ชาวคาซัคสถานสร้างความประทับใจให้มากตั้งแต่วันแรก
ที่อุตส่าห์ให้เข้าพักในกระโจมของพวกเขา
จนถึงทุกวันนี้
สาธารณรัฐประชาชนจีนยังคงใช้ความพยายามที่จะควบ
คุมเส้นทางที่สำคัญสายนี้ตามแนวทางของพวกเขา
หลัง
จากที่เส้นทางสายแพรไหมในอดีตนั้นได้ล่มสลายลงตาม
กาลเวลา
และทุกวันนี้ซินเจียงก็เป็นเป้าหมายของชาวฮั่น
นั่นเพราะความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากร
โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง "ทองคำ"
หรือปิโตรเลียม
ในขณะที่ชาวมุสลิมที่
ใช้ภาษาถิ่นของตนเอง เช่น
ภาษาเทอคิก คาซัคซ์ ทาจิค
หรือเคอกิซ
หรือแม้แต่ชาวมองโกลที่สืบเชื้อสายมาจาก
เจงกิสข่าน
ยังคงใช้ชีวิตเหือนที่เป็นมาของบรรพบุรุษ |