ศูนย์ประชุมนานาชาติภูเก็ต
เป็นแค่ฝันไร้ความชัดเจน อดีตประธานคณะทำงานส่ง
เสริมและพัฒนาศูนย์ประชุม-นานาชาติเมืองภูเก็ตไร้ความชัดเจน
แม้ภูเก็ตจะมีศักยภาพดีที่สุดในประเทศ
ไทย
แต่ภาครัฐยังให้ความสนใจน้อยมาก
ส่วนทางด้าน
ท้องถิ่นยังคงดิ้นหาที่ดินรองรับต่อไป
นายสมหมาย ภาษี อดีตประธานคณะ
ทำงานส่งเสริมและพัฒนาศูนย์ประชุมนานาชาติ
กล่าวถึงความคืบหน้าในการสร้างหอประชุมนานาชาติที่
จังหวัดภูเก็ตว่า
ยังไม่มีความคืบหน้าอะไรมากมายนัก
ถึง
แม้ว่าจะมีการศึกษาในเรื่องนี้กันมาแล้วระยะหนึ่งก็ตาม
ซึ่งสาเหตุที่มองว่าภูเก็ตน่าจะมีการสร้างอประชุมนานา
ชาตินั้นเนื่องจากว่ามีความพร้อมที่จะรองรับการประชุม
ที่มีคนเดินทางเข้ามาเป็นจำนวนมากได้
โดยเฉพาะใน
เรื่องของที่พักซึ่งมีจำนวนมาก
สายการบินที่เป็นนานาชาติ
เป็นต้น
แต่จนถึงขณะนี้เราก็ยังไม่สามารถที่จะสร้างหอ
ประชุมนานาชาติได้
ทั้งที่มองถึงศักยภาพและผลประ
โยชน์ที่จะได้รายได้จากตลาดการประชุมซึ่งมีจำนวนมหา
ศาลแต่เราก็ไม่รู้จักที่จะกอบโกย
"ปัญหาของการสร้างหอประชุมฯ
นั้นยังคงมีมาก
มายทั้งเรื่องของผู้ที่จะลงทุน
ซึ่งคิดว่าคงต้องเป็นหน้าที่
ของทางภาครัฐ
เพราะเอกชนคงไม่กล้าที่จะลงทุนเนื่อง
จากต้องใช้งบประมาณเป็นจำนวนมาก
คาดว่าจะไม่ต่ำ
กว่าหนึ่งพันล้านบาท
หรืออาจจะเป็นลักษณะแบ่งกันลง
ทุนคนละส่วนระหว่างภาครัฐกับเอกชนซึ่งแล้วแต่ข้อตกลง
ที่จะทำกัน
แต่อย่างไรก็ตามเคยพูดไว้หลายครั้งแล้วสำหรับ
การลงทุนสร้างหอประชุมนานาชาติ
คือ รัฐควรเป็นผู้ลง
ทุนเพราะการสร้างหอประชุมก็เหมือนกับการสร้างสนาม
บิน หรือถนน
นอกจากนี้ปัญหาอีกอย่างหนึ่งขณะนี้
คือ
รัฐไม่มีเงินในการที่จะนำมาลงทุน
ซึ่งก็คงต้องมาช่วยกัน
หาวิธีการ
เพราะเมื่อสร้างได้แล้วประโยชนที่จะเกิดขึ้นนั้น
มีเป็นจำนวนมาก
ซึ่งนอกจากเป็นการนำรายได้เข้าสู่
ประเทศแล้วยังเป็นประโยชน์ให้ผู้ประกอบการในธุรกิจ
ต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่อง
และประชาชนด้วย"
นายสมหมายยังกล่าวด้วยว่า
เมื่อมองศักยภาพของ
ภูเก็ตในการที่จะสร้างหอประชุมนานาชาติคิดว่ามีมากพอ
สำหรับในส่วนของภูมิภาคนอกเหนือจากเชียงใหม่และขอน
แก่น
ซึ่งจะมีหอประชุมขนาดใหญ่อยู่แล้ว
โดยพื้นที่ที่เหมาะ
สมที่จะสร้างนั้นบอกไม่ได้ว่าตรงบริเวณใด
แต่หากสร้าง
แล้วควรที่จะให้มีลักษณะเป็นแลนด์มาร์ก
เพราะภูเก็ตมี
ลักษณะเป็นเกาะที่ล้อมรอบด้วยทะเล
โดยให้มีลักษณะ
เหมือนกับที่ฮอนโนลูลู
หรือที่อื่นๆ
ที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน
โดยจุดที่เหมาะที่จะเป็นที่ตั้งนั้นจะต้องอยู่ใกล้กับโรงแรม
มีการบริการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
เช่น ร้านอาหาร ร้านขาย
สินค้าที่ระลึก เป็นต้น
เพราะหลังจากที่มีการประชุม
เสร็จแล้วผู้ที่เข้าร่วมประชุมก็สารมารถที่จะช้อปปิ้งได้
โดยใช้เวลาไม่มากนัก
ซึ่งอาจจะเป็นจุดหนึ่งจุดใดที่เป็นที่ดิน
ของภาครัฐตั้งแต่บริเวณหาดป่าตอง
ไปจนถึงหาดกะตะ กะรน
ส่วนที่ได้มีการศึกษากันที่บริเวณหาดสุรินทร์
อ.ถลาง นั้นคงไม่เหมาะ
เพราะมีที่พักรองรับไม่มากนัก
ส่วนที่บริเวณ สะพานหิน อ.เมือง
ซึ่งแม้ว่าจะเป็นจุดที่เหมาะสม
แต่ก็
ไม่ใช่จุดที่เหมาะสมที่สุด
โดยขนาดของพื้นที่ที่จะใช้ก่อสร้าง
นั้นอย่างน้อยต้องไม่ต่ำกว่า 50-60
ไร่ ส่วนของสาธารณูป
โภคสาธารณูปการต่างๆ
คิดว่าไม่มีปัญหาไม่ว่าจะเป็นจุดใด
แต่ที่จะต้องมีการเตรียมให้พร้อมคือในส่วนของหมายเลข
โทรศัพท์ซึ่งในการประชุมต่างๆ
มีความจำเป็นอย่างมาก
"ในส่วนของผู้ที่จะเข้ามาบริหารการใช้หอประชุมนั้น
คิดว่าจะต้องเป็นมืออาชีพ
โดยเฉพาะหากเป็นการร่วมทุน
ต้องมีการหามืออาชีพมาดำเนินการอย่างแน่นอน
คิดว่า
การประชุมที่จะเกิดขึ้นสำหรับภูเก็ตนั้นควรเป็นการประชุม
ในเรื่องของซอฟแวร์
การประชุมทางวิชาการต่างๆ เช่น
ด้าน การศึกษา สาธารณสุข
การบริการ เป็นต้น ซึ่งการประชุม
ดังกล่าวจะมีอยู่ตลอดทั้งปี
ซึ่งไม่มีปัญหา เพราะหากเมื่อ
เริ่มลงมือก่อสร้างก็สามารถทำการตลาดได้เลย
และเมื่อ
สร้างเสร็จซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ
1-2 ปีก็ขายได้ ทันที"
นายสมหมายกล่าวอีกว่า
ที่ผ่านมานั้นรัฐบาลให้ความ
สนใจในเรื่องนี้น้อยมาก
แม้แต่รัฐบาลชุดนี้ซึ่งในการประ
ชุมเชิงปฏิบัติการหรือเวิร์คช้อปที่เชียงใหม่ก็มีการพูดถึง
เรื่องของศูนย์ประชุมน้อยมาก
เพราะยังหาความชัดเจน
หรือแน่นอนไม่ได้
ซึ่งเรื่องนี้ก็คงต้องเป็นหน้าที่ของรัฐมนตรี
ที่ดูแลเรื่องของการท่องเที่ยวที่จะต้องให้ความสนใสจใน
เรื่องนี้อย่างจริงจังและเสนอข้อมูลต่างๆ
ให้กับรัฐบาลได้ รับทราบ
เพื่อจะได้ดำเนินการในการจัดหางบประมาณมา
ดำเนินการในเรื่องนี้ให้เป็นรูปธรรม
และจะเป็นส่วนหนึ่ง
ในการที่จะทำรายได้เข้าสู่ประเทศอีกทางหนึ่ง
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า
สำหรับการดำเนินการเกี่ยว
กับการสร้างหอประชุมนานาชาติของจังหวัดภูเก็ตนั้น
ปรากฏว่าได้มีการดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องและล่าสุดได้
มีการเรียกประชุมผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน
เพื่อ
ดำเนินการในการจัดหาพื้นที่ที่เหมาะสมในการสร้างหอ
ประชุม
โดยมีการเสนอที่ของรัฐจำนวน 5
แปลง ประ กอบด้วย
พื้นที่บริเวณสะพานหิน
บริเวณหาดสุรินทร์ บริเวณเขาขาด
บริเวณที่ตั้งของสำนักงานธรณีเขต
2 และ บริเวณอุทยานสิรินาถ
รวมทั้งยังมีการเชิญชวนให้เอกชน
บริจาคที่ดินจำนวนไม่ต่ำกว่า 100
ไร่ เพื่อมาใช้ในการ
สร้างหอประชุมนานาชาติด้วย
|