แผนแก้ปัญหาจราจรเมืองภูเก็ต
ใช้เงิน 9 พันล้าน ผลการศึกษาวางแผนพัฒนาระบบจราจรเมืองภูเก็ตของ
มอ.ทั้งระยะสั้นและระยะยาวต้องใช้เงินลงทุน
9 พันล้านบาท เศษ
ปรับทั้งสัญญาณไฟ
สร้างอุโมงค์เชื่อมป่าตอง-กะทู้
เอา ไฟฟ้า-โทรศัพท์ ลงใต้ดิน
เพิ่มรถโดยสารประจำทาง
นายต่อพงศ์ วัจนะสวัสดิ์
รองเลขาธิการคณะกรรมการจัดระบบกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก
กล่าวภายหลัง
การสัมมนารายงานผลการศึกษา
ประเด็นปัญหา ศักย ภาพ
แนวทางเบื้องต้นสำหรับการพัฒนาและฟังความ
คิดเห็นครั้งที่ 2
โครงการจัดทำแผนแม่บทด้านการ
จราจรและขนส่งจังหวัดภูเก็ตว่า
จังหวัดภูเก็ตมีความ
สำคัญในฐานะเมืองท่องเที่ยว
มีรายได้จากการท่อง
เที่ยวมากเป็นลำดับต้นของประเทศ
ส่งผลให้ประชากร
มีรายได้เฉลี่ยต่อคนเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ
ดังนั้น เพื่อรักษา
การขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะการ
ท่องเที่ยวของจังหวัด
จำเป็นต้องเร่งรัดพัฒนาโครง
สร้างพื้นฐาน
ทั้งในด้านสาธารณูปโภคสาธารณูปการ
ให้สามารถรองรับการท่องเที่ยวและแข่งขันกับประเทศ
เพื่อนบ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สำนักงานคณะ
กรรมการจัดระบบการจราจรทางบก
(สจร.) จึงได้มอบ
หมายให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
เป็นที่ปรึกษา
จัดทำแผนแม่บทด้านการจราจรและขนส่งจังหวัดภูเก็ต
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาด้านการ
จราจรและขนส่งเพื่อกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์
ในการพัฒนาระบบการสัญจรของยานพาหนะและคน
เดินเท้าให้ได้รับความสะดวก
รวดเร็ว และปลอดภัย
เพื่อรองรับการพัฒนาจังหวัดภูเก็ตเป็นเมืองนานาชาติ
จากรายงานผลการศึกษา ที่ปรึกษาฯ
ได้พยากรณ์
ความต้องการในการเดินทางในปี 2545
นี้ประมาณ เกือบ 6
แสนเที่ยวต่อวัน และในอีก 20
ปีข้างหน้าหรือ ปี 2560
จะมีความต้องการในการเดินทางประมาณ
1 ล้านเศษต่อเที่ยวต่อวัน
หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 2 เท่า
ถึงแม้ว่าตามแผนจะกำหนดให้มีการเพิ่มโครงข่ายถนน
เพื่อรองรับการเดินทางแล้วก็ตาม
แต่ความต้องการใน
การเดินทางในเขตใจกลางเมืองยังคงต่ำกว่า
10 กิโล เมตรต่อชั่วโมง
ซึ่งที่ปรึกษาฯ
ได้กำหนดแนวทางการ
พัฒนาระบบการสัญจรของเมืองภูเก็ตในลักษณะผสม
ผสานระหว่างนโยบายในระยะสั้นและระยะยาวควบคู่
กันไปด้วยกัน
โดยนโยบายระยะสั้นมุ่งมั่นที่จะส่งเสริม
การพัฒนาระบบการจราจรและขนส่งให้เกิดความ
สะดวกสบาย รวดเร็ว ปลอดภัย
และประหยัด นโยบาย
ระยะยาวมุ่งพัฒนาระบบการสัญจรของยานพาหนะ
และคนเดินเท้าเพื่อการพัฒนาระบบการสัญจรที่ยั่งยืน
ควบคู่กับการพัฒนาเมืองให้เป็นเมืองน่าอยู่
ดังนั้น
การจัดทำแผนแม่บทด้านการจราจรและ
ขนส่งจังหวัดภูเก็ต
จำเป็นต้องกำหนดนโยบายที่สามารถนำไปสู่การดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
และเป็นไปอย่างยั่งยืน กล่าวคือ
มีระบบการจราจรและ
ขนส่งที่มีประสิทธิภาพ
อนุรักษ์วัฒนธรรมและปรับปรุง
สิ่งแวดล้อม
ความปลอดภัยในการสัญจร ความเสมอ
ภาคในการใช้พื้นที่ถนน
การพัฒนาการขนส่งที่ยั่งยืน
และความสะดวกในการเข้าถึงจุดที่ต้องการสำหรับทุก
คนเพื่อสนองความต้องการในการเดินทางในอนาคต
และสอดคล้องกับนโยบายภูเก็ตเมืองนานาชาติ
รองเลขาธิการกล่าวต่อว่า
สำหรับยุทธศาสตร์
และแผนงานในการแก้ไขปัญหา
ได้กำหนดเป็นระยะ สั้น ระยะกลาง
และระยะยาว (20 ปี) วงเงินลงทุน
ประมาณ 9 พันล้านบาทเศษ
โดยมีโครงการที่สำคัญ อาทิ
โครงการติดตั้งสัญญาณไฟจราจรเป็นพื้นที่
(ATC)
การก่อสร้างอุโมงค์เชื่อมระหว่างป่าตอง-กะทู้
การปรับปรุงโครงข่ายถนนและภูมิทัศน์ในเขตใจกลางเมือง
(ปรับระบบไฟฟ้าและโทรศัพท์ลงใต้ดิน)
การปรับปรุง
โครงข่ายถนนเชื่อมต่อท่าเรือ
การปรับปรุงทางกายภาพ
ของทางแยกและถนนในเมืองเพื่อความปลอดภัย
การ
เพิ่มเส้นทางรถโดยสารประจำทาง 3
เส้นทาง การส่ง
เสริมระบบขนส่งมลชนขนาดเบา 3
เส้นทาง เป็นต้น การสัมมนาฯ
ครั้งนี้ที่ปรึกษาฯ
ได้นำเสนอโครง
การและมาตรการต่างๆ
ในการแก้ไขปัญหาระยะสั้น
และพัฒนาในเชิงรุก
เพื่อหารายได้จากการท่องเที่ยว
เข้าสู่ประเทศ
และการกินดีอยู่ดีให้แก่ชาวภูเก็ตอีกด้วย
|