บ่อกุ้งภูเก็ตปรับตัวหนีตาย
แปรสภาพเป็นที่ท่องเที่ยว กลุ่มผู้เลี้ยงกุ้ง
ดิ้นเพื่อความอยู่รอด
หลังเจอมรสุมกฎเหล็ก
กระทรวงวิทย์ฯ
ห้ามเลี้ยงในพื้นที่ภูเก็ต
ทั้งๆ ที่ทำรายได้มหาศาลเป็น
รองธุรกิจท่องเที่ยว
ตอนนี้เจอปัญหาราคาตก
และกุ้งเลี้ยงไม่โต
เตรียมแปรสภาพเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิง
อนุรักษ์ หรือเชิงวิชาการ
ตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
กำหนดให้จังหวัดภูเก็ตเป็นเขตคุ้มครองสิ่งแวดล้อม
โดยห้ามไม่ให้ทำกิจกรรมต่างๆ
ที่ส่งผล
กระทบต่อสิ่งแวดล้อมมาตั้งแต่ปี
2535
ซึ่งหนึ่งในกิจกรรมที่ถูกห้ามไม่ให้เกิดขึ้นในภูเก็ตคือ
การเพาะ เลี้ยงกุ้ง
เนื่องจากกระทรวงวิทย์ฯ
มองว่าการเพาะเลี้ยง
กุ้งมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งบนบกและในทะเล
ทำให้ผู้ประกอบการเลี้ยงกุ้งในภูเก็ต
ซึ่งมีอยู่ประมาณ 150 ฟาร์ม
พื้นที่เลี้ยงกว่า 2,700 ไร่
ได้รับความเดือด ร้อน
เนื่องจากการเพาะเลี้ยงกุ้งเป็นกิจกรรมที่ทำ
รายได้เข้าภูเก็ตรองจากการท่องเที่ยว
และภูเก็ตยังเป็น
แหล่งเพาะลูกกุ้งสำหรับส่งไปเลี้ยงตามฟาร์มต่างๆ
ในภาคใต้
ดังนั้นเมื่อปลายเดือนที่ผ่านมา
ชมรมผู้เลี้ยง
กุ้งจังหวัดภูเก็ต
ผู้ประกอบการที่เกี่ยวเนื่องกับการ
เพาะเลี้ยงกุ้ง
ร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต
และคณะกรรมการจัดทำเขตพื้นที่สำหรับเพาะเลี้ยงกุ้ง
จังหวัดภูเก็ต
ได้ร่วมประชุมเพื่อกำหนดเขตพื้นที่ที่จะขอ
ให้กระทรวงวิทย์
อนุญาตให้เพาะเลี้ยงกุ้งได้
ซึ่งจาก
การประชุมสรุปว่าพื้นที่ที่จะให้เพาะเลี้ยงกุ้งได้จะอยู่ใน
บริเวณชายฝั่งตะวันออกของจังหวัดภูเก็ตที่จะเพาะเลี้ยง
ลูกกุ้งและกุ้งใหญ่
รวมทั้งห้ามไม่ให้ขยายพื้นที่บ่อกุ้งเพิ่มให้เพาะเลี้ยงได้เฉพาะในบ่อที่เลี้ยงอยู่แล้วเท่านั้น
นายเบญจพันธ์ ทองตัน
รองประธานชมรมผู้เพาะเลี้ยงกุ้งจังหวัดภูเก็ต
กล่าวว่า จริงๆ
แล้วความเห็นของคณะผู้ทำโซนนิ่งก็ยังมีความเห็นขัดแย้งกันอยู่
ทางออกที่ได้มีการสรุปมานั้น
ทางคณะกรรมการฯ
ได้มีมติขอใช้พื้นที่ทางฝั่งตะวันออก
ซึ่งไม่ได้ใช้ประโยชน์จากการท่องเที่ยว
แต่เป็นพื้นที่ทำการประมงและแพปลาอยู่แล้ว
จึงขอให้ใช้พื้นที่ตรงนี้เป็นพื้นที่ใช้งานสำหรับธุรกิจประมง
แนวคิดนี้ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการจัดโซนนิ่ง
ทางผังเมืองจังหวัดจึงได้จัดทำแผนที่แสดงจุดที่
เป็นบ่อกุ้งทั้งหมด
โดยการใช้สีย้อมลงบนแผนที่
แต่วิธี การในการย้อมสีนั้น
ทางผังเมืองจังหวัดได้ย้อมสีเต็ม
พื้นที่ซึ่งที่จริงแล้วอาจจะมีฟาร์มกุ้งเพียงแค่
2-3 แห่ง เท่านั้น
ไม่ใช่เลี้ยงกันเต็มพื้นที่ที่ได้ย้อมสีไว้
เพราะ
ฉะนั้นพื้นที่ที่ย้อมสีไว้ทั้งหมดที่มีลักษณะเป็นอ่าว
เช่น
บริเวณอ่าวยนจะเป็นโรงเพาะฟักทั้งหมด
โดยจะไม่มีนา กุ้งอยู่เลย
แต่นากุ้งจะอยู่ที่อ่าวฉลอง
ภายหลังจากปี 2542 เป็นต้นมา
แทบจะไม่มีการ ขุดบ่อใหม่เลย
และนากุ้งเกือบ 30%
ไม่มีการเลี้ยงกุ้ง
บางแห่งก็ประกาศให้เช่าที่นาในราคาถูก
จึงไม่จำเป็น ต้องขุดบ่อใหม่
เพราะการเช่าจะประหยัดกว่า?
รองประธานชมรมผู้เลี้ยงกุ้งจังหวัดภูเก็ต
ยังให้
ความเห็นถึงอนาคตของธุรกิจการเลี้ยงกุ้งว่า
ตั้งแต่
วันนี้เป็นต้นไปถ้าหากราคากุ้งเป็นยังคงตกต่ำอยู่เรื่อยๆ
และผลผลิตมีขนาดเล็กลงเรื่อยๆ
แบบนี้ อนาคตธุรกิจ
การเลี้ยงกุ้งคงใกล้จะสิ้นสุดลงแล้ว
ตอนนี้ทางชมรมฯ
ได้มีความตื่นตัว
ที่จะพัฒนาบ่อเลี้ยงกุ้งเป็นแหล่งท่อง
เที่ยวเชิงอนุรักษ์ควบคู่ทางวิชาการ
โดยแกนนำของ ชมรมฯ
หลายคนจะเดินทางไปประเทศสิงคโปร์
เพื่อดูธุรกิจการท่องเที่ยวที่เกิดจากการเกษตร
และจะ
นำแนวทางดังกล่าวมาปรับปรุงการเลี้ยงกุ้งควบคู่ไปกับ
การท่องเที่ยว
โดยการปรับแต่งภูมิทัศน์บริเวณพื้นที่
เลี้ยงกุ้งให้สวยงาม ปลูกต้นไม้
ทำสวนหย่อม และให้
ทัวร์นักท่องเที่ยวเข้ามาดูการเลี้ยงกุ้ง
พร้อมจัดสถานที่ ให้มีร้านอาหาร,
เป็นในลักษณะทัวร์วิชาการ, เทรน
นิ่งเซ็นเตอร์
หรืออาจจะเป็นบ้านพักเล็กๆ
และเปิด
หลักสูตรอบรมการเลี้ยงกุ้งระยะสั้น
เพราะขณะนี้การ
เลี้ยงกุ้งในประเทศไทยมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก
มีผู้
เลี้ยงกุ้งในหลายประเทศสนใจที่จะเดินทางมาศึกษา
การเลี้ยงกุ้งที่นี่
และภูเก็ตเองก็เป็นเมืองท่องเที่ยว
อยู่แล้วจึงเป็นช่องทางที่ดีและมีความเป็นไปได้สูง
ส่วนกรณีที่มีข่าวออกมาว่า
คนเลี้ยงกุ้งในภูเก็ตเป็นตัวการในการทำลายป่าชายเลนนั้น
นายเบญจพันธ์ กล่าวว่า
ไม่เป็นความจริง
เพราะคนเลี้ยงกุ้งส่วนใหญ่
แล้วเป็นคนภูเก็ต
แต่อาจจะมีส่วนน้อยที่บุกรุกป่าชาย
เลน แต่ก็เป็นพื้นที่ไม่มาก
รวมทั้งป่าชายเลนในภูเก็ตก็มี
ไม่มาก
และภูเก็ตเองก็เป็นเมืองเล็ก
สามารถดูแลควบ คุมได้ง่าย
อีกทั้งยังมีการตื่นตัวเรื่องการอนุรักษ์
สิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก
จึงขอทำความเข้าใจกับชาว
ภูเก็ตไว้ตรงนี้ด้วย
นากุ้งที่มีอยู่ 2,700 ไร่ในขณะนี้
ได้
รับการยืนยันจากกรมประมงแล้วว่า
ไม่ได้เป็นสร้าง
ปัญหาให้น้ำชายฝั่งเสีย
แต่เป็นการกระตุ้นสารอาหาร
จากแร่ธาตุและแพลงตอน
ทำให้ป่าชายเลนสมบูรณ์
ปลาและหอยมีขนาดใหญ่ขึ้นกว่าไม่มีการเลี้ยงกุ้ง
หอย
แคลงที่ป่าคลอกเมื่อก่อนไม่มีแต่ตอนนี้มีเกิดขึ้นตาม
ธรรมชาติ
มีธุรกิจเลี้ยงหอยแมลงภู่เกิดขึ้นตามปาก
คลองต่างๆ ที่มีการเลี้ยงกุ้ง |