headnews.gif (3376 bytes) ท่องเที่ยว  บทความพิเศษ   สมัครงาน
เศรษฐกิจ-ธุรกิจ การตลาด   การลงทุน

    URL: www.phukettoday.com/news

ประจำฉบับที่ 674 ประจำวันที่ 16-22 กรกฏาคม 2543     
dot.gif (802 bytes)
สารบัญ
ข่าวหน้า 1
ข่าวเศรษฐกิจ-ธุรกิจ
ข่าวท่องเที่ยว
ข่าวสังคม
สมัครงาน
สกู๊ปประจำฉบับ
กลับ Phuket Today
 
"โอหมี่" ชัดธงโต้กรีนพีซ เตาเผาขยะภูเก็ตไม่ทำ "จู๋" เล็ก

นายกเล็กภูเก็ตออกโรงโต้กลุ่มกรีนพีซ กรณีระบุว่าเตาเผาขยะภูเก็ตปล่อยสารพิษพร้อมตั้งข้อสังเกต มีอีกหลายเมืองในภูมิภาคนี้ใช้ระบบ การจัดการขยะโดยการเผาแต่ไม่ถูกโจมตี และยืนยันว่าสารพิษที่ออกมาเพียงเล็กน้อย และไม่เกินค่ามาตรฐานที่กำหนด สืบเนื่องจากกรณีที่ทางกลุ่มกรีนพีชได้ออกมาระบุ โดยอ้างถึงรายงานการวิจัยที่ลงพิมพ์ในวารสารทางการ แพทย์นานาชาติเมื่อเดือน พ.ค. ที่ผ่านมาพบว่ากลุ่ม วัยรุ่นที่อาศัยอยู่ใกล้โรงงานเตาเผาขยะในประเทศ เบลเยี่ยมมีการพัฒนาทางด้านเพศช้า โดยเฉพาะ อย่างยิ่งขนาดอัณฑะของเพศชายจะมีขนาดเล็ก และใน กลุ่มเพศหญิงจะมีหน้าอกเล็กกว่ากลุ่มวัยรุ่นที่อยู่ในเขต ที่ไม่มีโรงงานเตาเผาขยะ พร้อมทั้งเสนอให้รัฐบาลทบ ทวนนโยบายการก่อสร้างโรงเตาเผาในพื้นที่ต่างๆ เกี่ยว กับกรณีดังกล่าว ร้อยโทภูมิศักดิ์ หงษ์หยก นายกเทศ บาลเมืองภูเก็ต ได้ออกมากล่าวในฐานะที่เป็นผู้รับผิด ชอบเรื่องของโรงเตาเผาขยะของภูเก็ต ว่าการจัดการ เกี่ยวกับปัญหาขยะนั้นมีหลากหลายวิธีจะทำเพียงวิธี การใดวิธีการหนึ่งไม่ได้ และการเผาขยะก็เป็นเพียง วิธีการหนึ่งในการจัดการกับปัญหาขยะเท่านั้น โดยสิ่ง หนึ่งที่มีการทำร่วมกัน คือ การปลูกจิตสำนึกในเรื่อง ของการคัดแยกขยะ แต่ก็ทำได้เพียงส่วนหนึ่งและระดับ หนึ่งเท่านั้น ส่วนกรณีที่มีการกระบุว่าเตาเผาขยะได้ปล่อยสาร พิษโดยเฉพาะไดออกซินออกมาเกินมาตรฐานที่กำหนด และก่อให้เกิดอันตรายแก่สุขภาพของผู้ที่อาศัยอยู่บริเวณ รอบๆ โรงเตาเผาขยะนั้น ร้อยโทภูมิศักดิ์ กล่าวว่า สาร ไดออกซินไม่ได้เกิดขึ้นโดยเป็นผลิตภัณฑ์หลักของ อุตสาหกรรมใดๆ แต่เป็นผลพลอยได้จากกระบวนการ ผลิตที่เกี่ยวข้องกับสารคลอรีนในอุตสาหกรรมหลายๆ ประเภท เช่น กระบวนการเผาไหม้ของเสีย หรือการ เผาไหม้สารเคมีที่มีอุณหภูมิการเผาสูงไม่พอ (ต่ำกว่า 800 องศาเซลเซียส) ทั้งนี้ไดออกซินกำเนิดจากการเผา ไหม้สารประกอบทางเคมีที่มีคลอรีนเป็นองค์ประกอบ ในโมเลกุลกับสารไฮโดรคาร์บอน แหล่งกำเนิดหลังของ ไดออกซินในสิ่งแวดล้อมร้อยละ 95 โดยประมาณ มาจากเตาเผาขยะหรือเผาของเสียซึ่งมีส่วนประกอบ คลอรีน "สำหรับเตาเผาขยะของภูเก็ตนั้นใช้อุณหภูมิในการ เผาไหม้สูงกว่า 800 องศาเซลเซียส และเป็นระบบ เดียวกับที่สิงคโปร์ใช้ บริษัทที่ปรึกษาตรวจสอบค่า มาตรฐานการปล่อยของเสียก๊าซพิษ เช่น So2, Hcl, Ho2 ปริมาณฝุ่นละออง ไดออกซิน เป็นต้น ซึ่งพบว่าไม่ เกินมาตรฐานที่กำหนดไว้ และขณะนี้ทางเทศบาลเมือง ภูเก็ตก็ได้จัดสรรงบประมาณในการก่อสร้างโรงคัดแยก ขยะที่จะนำไปเผาเมื่อลดปริมาณขยะ คาดว่าจะก่อ สร้างแล้วเสร็จภายใน 7 เดือน ซึ่งจะทำให้สามารถแยก สารที่ก่อให้เกิดคลอรีน เช่น พลาสติก ไฟเบอร์ โฟม เป็นต้น ซึ่งเป็นต้นเหตุการเผาไหม้ที่ก่อให้เกิดสาร ไดออกซิน" ร้อยโทภูมิศักดิ์ ยังกล่าวด้วยว่า ในกรณีการออกมา พูดของทางกลุ่มกรีนพีชนั้นพูดเพียงบางส่วนเท่านั้น ซึ่งไม่ครอบคลุมข้อมูลจริงทั้งหมด ดังนั้นจึงอยากให้ พิจารณาเบื้องหน้าเบื้องหลังของการออกมากล่าวของ ทางกลุ่มกรีนพีชว่าเป็นเช่นไร เพราะเมืองไทยมีโรงเตา เผาเพียงโรงเดียวที่ภูเก็ต ในขณะที่ประเทศอื่นๆ เช่น สิงคโปร์ ซึ่งมีโรงเตาเผาประมาณ 40 โรง เกาหลี 60 โรง ญี่ปุ่นอีกเป็นจำนวนมากเป็นต้น กลับไม่ถูกโจมตี และหากจะมีการนำเสนอข้อมูลนั้นควรที่จะนำเสนอให้ ครอบคลุมในทุกด้านไม่ใช่เฉพาะด้านใดด้านหนึ่ง เพราะการทำงานในยุคโลกาภิวัฒน์นั้นจะต้องเป็นการ ทำงานในลักษณะของพหุพาคี ซึ่งต้องร่วมมือกัน ร่วมกัน ทำ ร่วมกันรู้ ในลักษณะของการเปิดเวทีสาธารณะ และ ในส่วนของเทศบาลเมืองภูเก็ตเองนั้นก็เป็นเพียงหน่วย งานเล็กๆ ที่ผ่านมาการดำเนินงานในด้านต่างๆ ก็จะ ใช้หลักธรรมาภิบาลซึ่งให้ประชาชนได้มีส่วนรับรู้ รับ ทราบด้วย นอกจากนี้ ร้อยโทภูมิศักดิ์ กล่าวอีกว่า ที่ผ่านมาใน การตรวจสอบค่ามาตรฐานของไดออกซินนั้นจะดำเนิน การทุก 6 เดือน โดยความร่วมมือขององค์การระหว่าง ประเทศ คือ จีทีแซด (GTZ) ของเยอรมัน ซึ่งได้มาเก็บ ตัวอย่างไปทำการตรวจสอบพบว่าต่ำกว่าค่ามาตรฐาน ที่กำหนดไว้ คือ 30 ไมโครกรัม เมื่อเทียบกับตัวเลขของ กลุ่มกรีนพีช และคิดว่าการออกมาของกลุ่มกรีนพีชนั้น ก็เป็นเพียงการออกมาแสดงละครตบตา เพราะที่ผ่าน มาบริเวณสะพานหินซึ่งเป็นพื้นที่บริเวณใกล้เคียงกับที่ ตั้งของโรงเตาเผาขยะยังมีประชาชนไปออกกำลังกาย และพักผ่อนเป็นประจำ และตนเองก็เป็นคนภูเก็ตและ ต้องอยู่ภูเก็ตตลอดออกมาพูดกับสิ่งที่คนซึ่งเป็นชาว ต่างประเทศและมาอยู่เพียงไม่กี่วัน ประชาชนจะเชื่อ ใคร อย่างไรก็ตาม ร้อยโทภูมิศักดิ์ ได้กล่าวถึงเรื่องของ กลิ่นที่เกิดจากโรงงานว่า ความจริงแล้วกลิ่นที่ออกมานั้น ไม่ใช่กลิ่นที่เกิดจากการเผาขยะในโรงงาน แต่เป็นกลิ่น ที่เกิดจากการฝังกลบก่อนหน้านี้และได้มีการปรับปรุง พื้นที่ทำให้มีกลิ่นบ้างเป็นระยะๆ เพราะเป็นขยะเก่าที่ หมักหมมมานาน และอาจจะเป็นกลิ่นของขยะที่รอการ เผาเนื่องจากโรงงานพักเครื่องในช่วงที่หยุดเพื่อทำการ บำรุงรักษา นอกจากนี้ก็ได้มีการหาวิธีเพื่อลดปริมาณ ของไดออกซินที่เกิดขึ้น โดยที่ผ่านมาได้ดำเนินการด้วย การฉีดปูนขาว และในอนาคตก็จะเพิ่มการลดปริมาณ ไดออกซินด้วยการใช้สารคาร์บอนแต่ก็ต้องรออีกสักระยะ หนึ่งเนื่องจากเรายังขาดงบประมาณ ซึ่งต้องใช้ในการ ดำเนินการส่วนนี้ถึง 50 ล้านบาท และยืนยันว่าสาร ไดออกซินที่เกิดจากโรงเตาเผามีน้อยมาก เมื่อเทียบกับ โรงงานอื่นๆ เช่น การเผาศพ โรงฟอกสีกระดาษ โรง ปูนซีเมนต์ โรงถลุงเหล็ก เป็นต้น ซึ่งไม่เข้าใจเหมือนกัน ว่าทำไมจึงพุ่งเป้ามาเฉพาะในส่วนของโรงเผาขยะ และ รายงานที่ว่าก็เป็นเพียงบางส่วนเท่านั้นอยากให้มีการ นำเสนอให้เต็มรูปแบบ และเชิญชวนนักวิชาการของ ทั้งสองฝ่ายมาพูดคุยโดยเปิดเวทีสาธารณะให้ประชาชน ได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง ไม่ใช่การนำเสนอเพียงบางส่วน แล้วก่อให้เกิดความตื่นตระหนกขึ้น ซึ่งไม่เป็นผลดีกับ ภูเก็ตอย่างแน่นอน ทางด้าน รศ.ดร.พล.สาเกทอง รองผู้จัดการบริษัท พีซี มอนทีเนย์ จำกัด ผู้รับดำเนินการและบำรุงรักษา โรงงานเตาเผาขยะภูเก็ต กล่าวถึงเรื่องที่เกิดขึ้นว่า การ จัดการกับปัญหาขยะจะให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดดำเนินการ ไม่ได้แต่ต้องร่วมมือกันทุกฝ่าย ซึ่งมีผู้ที่เกี่ยวข้อง 3 ส่วน คือ ผู้ผลิตสินค้าจะต้องไม่ผลิตสิ่งที่จะก่อให้เกิดมลพิษ หรือให้เกิดน้อยที่สุด ผู้ใช้สินค้าก็ต้องรู้จักการใช้ผลิต ภัณฑ์ที่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษหรือสารตกค้าง และผู้ที่มี หน้าที่เกี่ยวกับการจัดการกับขยะที่เหลือก็จะต้องหาวิธี การที่เหมาะสม และในการจัดการกับขยะนั้นคงใช้วิธี การเดียวให้แล้วเสร็จก็คงเป็นไปไม่ได้ ซึ่งในส่วนของ ภูเก็ตซึ่งมีพื้นที่น้อยการจัดการโดยการเผาจึงเป็นวิธีการ หนึ่ง แต่การปล่อยให้เผาในที่โล่งแจ้งก็จะเกิดมลพิษ มากมาย เพราะไม่มีการควบคุมอุณหภูมิที่จะก่อให้เกิด สารพิษขึ้นได้ แต่การเผาโดยโรงงานเผาขยะนั้นจะ สามารถที่จะควบคุมอุณหภูมิการเผาได้ และทำให้เกิด สารพิษน้อยที่สุด "การเผาในอุณหภูมิที่สูงกว่า 800 องศาเซลเซียส นั้นจะทำให้เกิดไดออกซินได้น้อยมากและไม่เกิดมาตรฐาน ที่กำหนดไว้ ส่วนค่ามาตรฐานของไดออกซินในปัจจุบัน นั้นก็ยังไม่มีค่าเป็นมาตรฐานสากล แต่ขึ้นอยู่กับพื้นที่ หรือปัจจัยประกอบของแต่ละประเทศที่จะกำหนดขึ้นมา ซึ่งอย่างไรก็ตามในส่วนของภูเก็ตนั้นจากการตรวจสอบ ก็ไม่เกิดมาตรฐานที่กำหนด และในปี 2546 ซึ่งจะมีการ นำกระบวนการใช้คาร์บอนมาช่วยในการเผาก็จะยิ่งทำ ให้ปริมาณของไดออกซินลดน้อยลงอีก และจริงๆ แล้ว แหล่งที่เกิดไดออกซินมากที่สุดนั้นไม่ใช่เตาเผาขยะ ยัง มีแหล่งอื่นอีกมากมาย เช่น การใช้สารเคมีฆ่าหญ้าซึ่ง มีการตกตะกอนไปในดิน และมีการกระจายไปสู่แหล่ง น้ำแล้วสัตว์บริโภคก็จะเกิดการสะสมของสารในสัตว์ ต่างๆ ด้วย หรือการเผาทำลายซากพืช สัตว์ เช่น ไฟ ไหม้ป่า เป็นต้น และในการวัดปริมาณของไดออกซิน แต่ละพื้นที่ก็ย่อมแตกต่างกัน ซึ่งต้องพิจารณาปัจจัยที่ เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เช่น ความหนาแน่นของพื้นที่ ประชากร เป็นต้น" รศ.ดร.พล กล่าว ในส่วนของนายแพทย์บุญเรียง ชูชัยแสงรัตน์ นาย แพทย์สาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต กล่าวในเรื่องรายงาน ทางการแพทย์ดังกล่าวว่า ในปัจจุบันการต่อสู้ในเรื่อง ต่างๆ จะใช้ข้อมูลเป็นหลัก ดังนั้นการจะพิจารณาใน เรื่องดังกล่าวนั้นต้องพิจารณาด้วยว่าผลการวิจัยดังกล่าว ใช้วัดกับใคร จุดไหน ไม่ใช่ตัดตอนเอามาเพียงบางส่วน ซึ่งอาจจะทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนได้ เพราะหากนำ มาพูดเพียงเล็กน้อยแล้วเงียบหายไปก็จะเกิดผลกระทบ กับพื้นที่ที่ถูกกล่าวถึง อย่างไรก็ตามการจะพิจารณาดูว่าโรงงานเตาเผา ขยะของภูเก็ตเกิดผลกระทบกับประชาชนหรือไม่ นาย แพทย์บุญเรียงกล่าวว่า สิ่งแรกที่จะพิจารณาได้คือ การจ้างงานของพนักงานที่ทำงานในโรงเรียนว่ามีการ เปลี่ยนแปลงหรือไม่ เพราะคนกลุ่มนี้จะใกล้ชิดกับกระ บวนการในการเผาขยะมากที่สุด ประการถัดมาให้ขอ ดูแผนงานว่ามีการดำเนินการอะไรอย่างไรทั้งในการดูแล ปรับปรุง การเฝ้าระวังปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับชุมชนโดย รอบ การวิเคราะห์ตัวอย่างของก๊าซที่เกิดขึ้นในชุมชน จากจุดที่ใกล้สุดไปจนถึงจุดไกลสุด สำหรับเตาเผาขยะของจังหวัดภูเก็ต เกิดขึ้นเมื่อปี 2538 โดยความร่วมมือของเทศบาลเมืองภูเก็ตกับกรม โยธาธิการ สร้างแล้วเสร็จเมื่อปี 2541 โดยสามารถเผา ขยะได้ 250 ตัน/วัน มีอุณหภูมิในห้องเผาไหม้ระหว่าง 800-950 องศาเซลเซียส ควบคุมการเผาโดยระบบ คอมพิวเตอร์

     
Home - เกี่ยวกับบริษัทฯ - ติดต่อกับบริษัทฯ - รายละเอียดโฆษณา - แผนผังเว็บไซต์

logoexnew2.gif (1304 bytes)
73/2 ถนนรัษฎา อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000 โทร..66-76 214496-8 แฟกซ์.66-76 215933

สงวนลิขสิทธิ์  1998, 1999,2000. บริษัท เอกซ์เพรสดาต้า จำกัด.